STORYREVIEW
ตำนาน เรื่องหลอน เรื่องลี้ลับ 2023

ความขลังของข้าวสารเสก

ความขลังของข้าวสารเสก

ความขลังของข้าวสารเสก ข้าวสารเสก เป็น เครื่องราง ของขลังศักดิ์สิทธิ์ที่มักพบเห็นตามภาพยนตร์หรือสื่อต่างๆ ซึ่งพวกหมอผีจะใช้ในการปราบวิญญาณชั่วร้ายโดยการปาใส่ บ้างก็ใช้ในการประกอบพิธีกรรมต่างๆ ถึงแม้ภายนอกจะเป็นเพียงข้าวสารธรรมดา แต่แท้จริงแล้วข้าวสารเสกพิเศษกว่านั้นมาก และในทางคุณไสยสามารถทำอะไรได้เยอะแยะกว่าปาใส่ผี ข้าวสารเสก เคยถูกกล่าวถึงในวรรณคดีไทยเลื่องชื่ออย่าง ขุนแผน โดยขุนแผนพระเอกของเรื่องที่มีวิชาอาคมแกร่งกล้าได้ปาข้าวสารเสกเข้าไปในเรือนขุนช้าง เพื่อสะกดให้ทุกคนบนเรือนหลับ แล้วย่องไปลักพาตัวนางวันทองมา โดยข้าวสารเสกที่ขุนแผนใช้นั้น คือ ข้าวสารย้อมว่านยาหรือที่เรียกว่า ข้าวพิรอด เป็นข้าวเปลือกที่รอดพ้นกรรมวิธีต่างๆ จนกลายเป็นข้าวเม็ดขาว ซึ่งในปัจจุบัน ข้าวสารเสกก็ยังคงมีอิทธิพลต่อพิธีกรรมต่างๆ ทั้งทางศาสนาและทางไสยศาสตร์ เช่น ในงานมงคลขึ้นบ้านใหม่จะมีการนำข้าวสารเสกมาวางไว้สี่มุมบ้าน เพื่อเป็นสิริมงคลเสริมฮวงจุ้ยหรือในงานบุญก็จะมีการปลุกเสกข้าวสารเสก เพื่อแจกจ่ายเป็นของที่ระลึกหรือโปรยไปตามที่ต่างๆเช่นเดียวกับการพรมน้ำมนต์ เพื่อขับไล่สิ่งชั่วร้ายด้วย ทางไสยศาสตร์หากนำไปปลุกเส

ความเชื่อรูปปั้นช้าง

ความเชื่อรูปปั้นช้าง

ความเชื่อรูปปั้นช้าง    คนไทยนิยมนำเอารูปปั้นสิงห์สาราสัตว์ต่างๆ มาตกแต่งประดับไว้ภายในบ้านโดยเฉพาะบริเวณหน้าบ้าน โดยแต่ละบ้านแต่ละครอบครัวก็จะมีความเชื่อเกี่ยวกับสัตว์ที่แตกต่างกันออกไป อย่างเช่นบางคนนิยมนำเอารูปปั้นสิงโตมาวางไว้บริเวณทางเข้าบ้านเพื่อเป็นการแก้เคล็ดและดึงดูดโชคลาภให้กับคนในบ้าน บางทีเราก็เห็นเป็นรูปปั้นม้า และอีกหนึ่งชนิดที่ได้รับความนิยมจนเห็นจนชินตานั่นก็คือ รูปปั้นช้าง นั่นเอง หลายคนอาจสงสัยว่ามันมีความหมายอย่างไรกันแน่ วันนี้เราจึงจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับรูปปั้นของสัตว์ชนิดนี้ให้มากขึ้นกัน ช้างเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองของคนไทยมาตั้งแต่ยุคสมัยโบราณ คนสมัยก่อนเมื่อจะไปออกรบหากไม่มีช้างการจะสู้รบชนะได้นั้นเป็นเรื่องยาก หลายต่อหลายครั้งช้างได้กลายเป็นวีรบุรุษในสนามรบที่ช่วยให้ประเทศไทยของเรามีชัยชนะเหนือคู่ต่อสู้ได้สำเร็จ เป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ อุดมไปด้วยสติปัญญา พลัง ความโชคดี ดังนั้นคนไทยจึงนิยมนำเอารูปปั้นช้างมาวางภายในบ้านเพื่อดึงดูดสิ่งดีๆ เข้าสู่บ้านตามความเชื่อของคนไทย โดยเฉพาะการวางบริเวณใกล้ประตูที่มีความหมายอยู่ 2 อย่างนั้นก็คือ หากอยู่บริเวณโถงทา

ถ้ำซ่อนผีเมืองตรัง

ถ้ำซ่อนผีเมืองตรัง

ถ้ำซ่อนผีเมืองตรัง ท่ามกลางบรรยากาศอันเงียบสงบของจังหวัดตรัง เต็มไปด้วยคาเฟ่ที่น่านั่งทำงานและสถานที่ท่องเที่ยวมากมายให้เราได้พักผ่อนหย่อนใจกันแบบสโลว์ไลฟ์ มีแต่รอยยิ้มและความสุข มีคนจำนวนน้อยมากที่จะรู้ว่าใจกลางเมืองตรังนี้ยังมีสถานที่ลึกลับแห่งหนึ่งที่ซ่อนเรื่องราวอดีตที่แสนเศร้าและแสนขนลุกจนพอกาลเวลาเปลี่ยนผ่านไป ทุกคนที่อยู่ในเหตุการณ์ก็เริ่มลืมเลือนกันไปและคนรุ่นหลังก็ไม่ได้รับรู้ถึงเรื่องราวเหล่านั้นกันนัก ด้วยไม่ใช่เรื่องราวที่ใหญ่โตและไม่ใช่สิ่งที่ควรจดจำเท่าไหร่กับความเศร้าในอดีต ณ สถานที่ซึ่งตอนนี้เป็นสวนสาธารณะขนาดใหญ่ที่ผู้คนในจังหวัดตรังและคนที่อยู่ต่างจังหวัดให้ความสนใจมาเที่ยวพักผ่อนกันในยามว่างมากที่สุด เพราะมีดินดอนอันเป็นที่ตั้งของภูเขาอยู่กลางหนองน้ำในตัวจังหวัดทำให้เป็นหนึ่งในสวนสาธารณะที่มีความแปลกและสวยงามมาก ในวันนี้เราก็จะขอพาทุกคนมารู้จักกับเรื่องราวอีกมุมหนึ่งของสวนสาธารณะสวยงามแห่งเมืองตรังผ่านประสบการณ์สุดสยองของผู้เล่าที่บอกว่า แท้จริงสวนสาธารณะแห่งนี้มี “ถ้ำ”ซ่อนอยู่บนเขา เป็นเรื่องเล่าของผู้เล่าทางบ้านท่านหนึ่งที่ขอใช้นามสมมุติว่า “คุณต้น” ซึ่งได้พบกับเห

ยักษ์ปู่แสะย่าแสะพิธีเลี้ยงผีของล้านนา

ยักษ์ปู่แสะย่าแสะพิธีเลี้ยงผีของล้านนา

ยักษ์ปู่แสะย่าแสะพิธีเลี้ยงผีของล้านนา ‘ปู่แสะย่าแสะ’ ตามตำนานเป็นชื่อของยักษ์สองผัวเมียซึ่งเชื่อกันว่าเป็นต้นเค้าบรรพบุรุษของชาว ‘ลัวะ’ ที่ได้กลายมาเป็นผู้พิทักษ์รักษาเมืองเชียงใหม่ เรื่องราวปู่แสะย่าแสะมีเค้าโครงหลักที่สอดคล้องกับตำนานพระเจ้าเลียบโลกซึ่งแพร่หลายในภูมิภาคล้านนา ว่าด้วยการเผชิญหน้าระหว่างพระพุทธเจ้ากับปู่แสะย่าแสะและลูกซึ่งเป็นยักษ์ดุร้าย ตามตำนานกล่าวไว้อีกว่าปู่แสะย่าแสะเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ต่อพระพุทธเจ้า และหันมารับศีลห้าเลิกฆ่าสัตว์ตัดชีวิต อย่างไรก็ตามการที่ปู่แสะย่าแสะเคยเป็นยักษ์มาก่อน จึงขออนุญาตต่อพระพุทธเจ้าที่จะกินสัตว์ตามสัญชาติญาณยักษ์ ความเชื่อดังกล่าวนำมาสู่การฆ่าควายเพื่อเซ่นสังเวยปู่แสะย่าแสะของชาวบ้านตำบลแม่เหียะ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า ‘เลี้ยงดง’ เป็นประจำทุกปีในวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 9 เหนือ โดยในพิธีกรรมจะมีการลงทรงของม้าขี่ (คนทรง) ปู่แสะย่าแสะซึ่งจะทำการกินเลือดและเนื้อควายสด ในพิธีกรรมยังมีการแขวนผ้า ‘พระบฏ’ เป็นสัญลักษณ์แทนพระพุทธเจ้าสอดคล้องกับเรื่องราวในตำนาน หากพิจารณาถึงความเชื่อเรื่องผีในล้านนาอาจกล่าวได้ว่าปู่แสะย่าแสะ

ตำนานพิธีผีมดและผีเม็ง

ตำนานพิธีผีมดและผีเม็ง

ตำนานพิธีผีมดและผีเม็ง ผีประจำตระกูลอีกอย่างหนึ่งที่จัดอยู่ในเครือผีบรรพบุรุษหรือผีปู่ย่า ซึ่งมักจะพบมีการนับถืออยู่ในเขตชุมชนเมืองเป็นส่วนมากเนื่องจากเป็นผีของคนในเมืองที่สืบเชื้อสายมากจากตระกูลเจ้านายและขุนนาง พิธีกรรมจะค่อนข้างซับซ้อน ตระกูลของผีมดผีเม็งมักสืบเชื้อสายไปได้ไกลและผีปู่ย่าของตระกูลผีมดผีเม็งจะมีชื่อเรียกขานเป็นชื่อเจ้านายอยู่ในตำนาน ซึ่งจะแตกต่างจากผีปู่ย่าโดยทั่วๆไปที่จะไม่มีชื่อเรียกขานเฉพาะ ตระกูลที่นับถือผีมดผีเม็งในทุกวันนี้มีเหลืออยู่ไม่มากนัก ซึ่งส่วนใหญ่จะมีอยู่ที่เมืองเชียงใหม่ ลำพูน และลำปาง แต่สำหรับเมืองอื่นๆแทบจะไม่ปรากฏ โดยข้อเท็จจริงแล้วผีมดและผีเม็งนั้นเป็นผีประจำตระกูลที่มีความแตกต่างกันทั้งในความเป็นมาที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มชนและรายละเอียดในพิธีกรรม แต่มักจะถูกเรียกรวมกันว่า ผีมดผีเม็ง เนื่องจากพิธีกรรมในการเลี้ยงผีมดผีเม็งนั้นจะจัดในช่วงเวลาใกล้เคียงกันและมีฟ้อนรำ หรือที่เรียกว่า ฟ้อนผี เพื่อเป็นการสังเวยผีบรรพบุรุษเหมือนกัน บางครั้งก็จะมีการจัดฟ้อนผีร่วมกัน เรียกว่า ผีมดซอนเม็ง ดังนั้นพิธีกรรมในการเลี้ยงผีดังกล่าวนี้จึงจัดเป็นประเพณีทีมักเรียกรวมกันไ

การฟ้อนรำผีชาวล้านนา

การฟ้อนรำผีชาวล้านนา

การฟ้อนรำผีชาวล้านนา นับว่าเป็นอีกประเพณีหนึ่งที่เก่าแก่ของชาวล้านนาที่นับมีความน่าสนใจเป็นอย่างยิ่งและพบว่า มีอยู่ทั่วไปในสังคมของชาวล้านนาและเป็นเรื่องสำคัญที่เกี่ยวข้องอยูทนโครงสร้างทางสังคมและใกล้ชิดกับวิถีชีวิตของชาวล้านนาเป็นอย่างมาก ปัจจุบันแม้ว่าความเชื่อดังกล่าวจะได้ลดน้อยลงแต่ก็ยังหลงเหลือและสะท้อนให้เห็นถึงความคิดความเชื่อในเรื่องดังกล่าวนี้ได้ในประเพณีและพิธีกรรมต่างๆที่ชาวล้านนาปฏิบัติกันในทุกวันนี้ เมื่อกล่าวถึงเรื่องผีและการนับถือผีของชาวชนบทในสังคมไทยโดยทั่วไปแล้ว หลายคนอาจจะมองเห็นว่าเป็นเรื่องงมงายไร้สาระ แต่ในสภาพของความเป็นจริงแล้วการนับถือผีเป็นระบบความเชื่ออย่างหนึ่ง ที่ค่อนข้างจะมีความสำคัญเกี่ยวข้องกับชุมชนและวิถีของผู้คนที่อยู่ในสังคมค่อนข้างมาก โดยเฉพาะในสังคมของชาวล้านนา การนับถือผีดูจะยิ่งมีความสำคัญมากขึ้น เพราะความเชื่อในการนับถือผีนั้นเป็นระบบที่มีความสัมพันธ์กับโครงสร้างทางสังคมของผู้คนในชุมชนให้ดำรงอยู่ร่วมกันได้อย่างราบรื่น แม้ว่าพระพุทธศาสนาจะได้รับการนับถืออย่างแน่นแฟ้นและมีบทบาทที่สำคัญเกี่ยวข้องอยู่ในชีวิตของชาวล้านนาอย่างมาก แต่อิทธิพลของพระพุทธศ

ตำนานพิธีกรรมหม้อตาหม้อยาย

ตำนานพิธีกรรมหม้อตาหม้อยาย

ตำนานพิธีกรรมหม้อตาหม้อยาย ความเป็นมาของชุมชนบ้านหนองขาวมีเรื่องเล่าร่วมสมัยกับรัชกาลพระเจ้าเอกทัศน์ กษัตริย์องค์สุดท้ายในแผ่นดินอยุธยา เมื่อพม่ายกกองทัพเข้าโจมตีจนต้องเสียกรุงเป็นครั้งที่ ๒ ขุนนางนักปราชญ์ราชบัณฑิตช่างศิลป์ไพร่บ้านพลเมืองถูกกวาดต้อนไปพม่าจำนวนมาก ปัจจุบันบริเวณดังกล่าวได้ถูกไถแปรเป็นนาข้าวไปหมดสิ้น ส่วนทางทิศใต้ของบ้านหนองขาวปัจจุบัน เดิมเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านดงรัง ยังคงปรากฏซากปรักหักพังของเจดีย์ อุโบสถ พระพุทธรูป กำแพงแก้ว และใบเสมา ปัจจุบันได้รับการบูรณะเป็นวัดขึ้นใหม่ชื่อว่า วัดใหญ่ดงรัง (วัดส้มใหญ่) ชามยาย บ้านยาย และหม้อยายบนหิ้งในห้องนอนชาวชุมชนบ้านหนองขาว แม้เรื่องเล่าการมีส่วนร่วมในสงครามครั้งนั้นจะมีโครงเรื่องคล้ายวีรกรรมของชาวบ้านบางระจัน และมีจุดจบแบบเดียวกัน ด้วยกำลังเพียงหยิบมือจึงไม่สามารถต้านกองทัพพม่าได้ ชาวบ้านจำนวนหนึ่งล้มตาย บางส่วนถูกกวาดต้อนเป็นเชลย ที่เหลือเล็ดลอดแตกฉานซ่านเซ็น บ้างหลบซ่อนตัวอยู่ตามป่าเขา และวัดวาอารามบ้านเรือนถูกเผาทำลาย ภายหลังเมื่อบ้านเมืองกลับเป็นปกติแล้ว ราษฎรทั้ง ๒ หมู่บ้านออกจากการซ่อนตัว ได้รวมกันตั้งหมู่บ้านขึ้นใหม่ใกล

การนับถือผีของคนภาคเหนือ

การนับถือผีของคนภาคเหนือ

การนับถือผีของคนภาคเหนือ การนับถือผีนั้น คงสืบเนื่องมาจากลัทธิบูชาบรรพบุรุษ  ซึ่งความเชื่อนี้เจริญเติบโตมากจากลัทธิที่เชื่อถืออำนาจเหนือธรรมชาติ ต้นกำเนิดของลัทธิประเพณีหลายๆอย่างและเป็นที่มาของศาสนาบางประเภทด้วย คติความเชื่อเกี่ยวกับผีเป็นความเชื่อของมนุษย์มาตั้งแต่สมัยโบราณ เป็นพัฒนาการของความเชื่อระดับหนึ่งของมนุษย์ที่เปลี่ยนแปลงไปตามโครงสร้างและสภาพของสังคม ในสังคมที่มีความก้าวหน้าทางวิทยาการและเทคโนโลยีมากขึ้นจะละทิ้งหรือลดหย่อนความเชื่อเกี่ยวกับผีลงไป จะหันมานับถือพระเจ้าซึ่งก็คือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มองไม่เห็นตัว มีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์เหนือมนุษย์เหนือธรรมชาติเหมือนผี แต่เรียกชื่อและมีพิธีกรรมที่แตกต่างกันไปเท่านั้น ไม่ได้มุ่งสนองความต้องการในชีวิตประจำวันเท่านั้น แต่จะพยายามแสวงหาคำตอบเกี่ยวกับชีวิตหลังความตาย เสนอความคิดความเชื่อเกี่ยวกับชาติหน้าที่เป็นเหตุเป็นผล มีหลักปรัชญาที่ซับซ้อนมากยิ่งขึ้น นับเป็นพัฒนาการความเชื่อระดับหนึ่งที่แสดงถึงภูมิปัญญาระดับสูงของมนุษย๋ ซึ่งนักมานุษยวิทยากำหนดให้ความเชื่อในลักษณะนี้เป็นศาสนาของสังคมสมัยประวัติศาสตร์ และให้การนับถือผีเป็นศาสนาในสมัยก

ปั้นเหน่ง

ปั้นเหน่ง

ปั้นเหน่ง เครื่องรางของขลังประเภทหนึ่งที่ทำมาจากกระดูกส่วนหน้าผากของศพมนุษย์ หรือ ส่วนกลางกะโหลกศีรษะ โดยปั้นเหน่งมีความหมายอีกนัยหนึ่งก็คือการย่อหัวกะโหลกทั้งหัวรวมไว้เพียงชิ้นเดียว เพื่อหวังว่าจะนำมาใช้ทางไสยศาสตร์ และสะดวกแก่การพกพาติดตัว โดยจะนำมาปลุกเสกและสะกดวิญญาณนั้น ผู้สร้างต้องมีวิชาอาคมที่แกร่งกล้ามากและปลุกเสกได้ถูกฤกษ์ยามตามตำรา เครื่องรางชนิดนี้ตามตำราจะต้องหากะโหลกหน้าผากจากศพอายุยังไม่มาก (ไม่แก่) แต่ที่ขลังจริง ๆ เฮี้ยนที่สุด ก็ต้องเป็นศพผีตายโหง หรือศพผีตายทั้งกลม ถือกันว่าเป็นวัตถุอาถรรพ์ติดวิญญาณที่มีผู้คนนิยมชมชอบมากเป็นวัตถุที่มากด้วยแรงอาถรรพณ์ ปั่นเหน่งแม่นาคพระโขนง ดังตามที่เรื่องราวตามตำนานรักที่ถูกเล่าขานของแม่นาคพระโขนง ที่ออกอาละวาดจึงทำให้สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสีทำการสะกดวิญญาณความเฮี้ยน โดยได้เจาะกะโหลกผีแม่นาคเอามาขัดเป็นมันลงอักขระอาคมและลงคาถาเฉพาะบททำเป็น ปั้นเหน่ง หัวเข็มขัดโบราณคาดเอวไว้เป็นเครื่องราง ก่อนที่จะนำไปเก็บรักษาไว้ที่วัดระฆังโฆสิตาราม ได้สะกดวิญญาณเอาไว้เพื่อไม่เป็นการให้โทษแก่ผู้ถือครอง ต่อมาปั้นเหน่งแม่นาคจะถูกเปลี่ยนมือไปอีก

ประวัติเรื่องเล่าเครื่องรางตาข่ายดักฝัน

ประวัติเรื่องเล่าเครื่องรางตาข่ายดักฝัน

ประวัติเรื่องเล่าเครื่องรางตาข่ายดักฝัน ทุก ๆ บ้าน ผู้เป็นแม่และ ยาย จะ สาน ใย วิเศษ สำหรับเด็กโดยใช้ ห่วง วิลโลว์ (พืชตระกูลหลิว) และ เส้นเอ็น หรือ สายระโยงระยาง ที่ทำจาก พืช   สานขึ้นเป็นกับดักฝันร้าย  โดย ดรีมแคชเชอร์จะ กรองฝันร้าย ทั้งหมดออกไป และอนุญาตให้ ความคิด ที่ดีเข้าสู่ จิตใจของเรา เมื่อ ดวงอาทิตย์ขึ้นในยามเช้า  ฝันร้าย ทั้งหมดก็จะถูกแผดเผาและหายไปในที่สุด ห่วงไม้กลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3 ½ นิ้ว  ลายใยแมงมุมนี้ถักจากเส้นด้ายที่ดี  มักจะย้อมสีแดง  ในอดีต ตาข่ายนี้ทำจากเส้นใยตำแย   ดรีมแคชเชอร์ห่วงใยแมงมุมนี้ถูกแขวนเพื่อดักจับสิ่งที่เป็นเภทภัยอันตรายที่ลอยอยู่ในอากาศ  สิ่งที่เข้ามาจะถูกมันจับไว้ สร้างให้เกิดเป็น ” เครื่องรางกับดักฝันร้าย ” แขวนไว้เหนือเตียงที่จะใช้ในการปกป้อง เด็กทารก และ ผู้คน ที่นอนหลับ จาก ฝันร้ายความฝันที่ไม่ดีจะอยู่ในตาข่ายซึ่งจะถูกทำลายไปด้วยแสงอาทิตย์ของวันใหม่จึงเรียกว่า ตาข่ายดักฝัน ทำให้สิ่งไม่ดีหายไป  ส่วนความฝันที่ดีจะเคลื่อนตัวผ่านลงมาที่ขนนกลงไปยังคนที่กำลังนอนหลับ ใครที่เคยเห็นในห้องนอนเพื่อนฝรั่งหรือในซีรีส์เกาหลีบางเรื่องมีอ