STORYREVIEW
ตำนาน เรื่องหลอน เรื่องลี้ลับ 2023

ผีสาว”ลาโลโรนา”หญิงสาวร่ำไห้

ผีสาว

ผีสาว”ลาโลโรนา”หญิงสาวร่ำไห้ มาทำความรู้จักกับผีสาว ลา โลโรนา กันก่อน เพื่อเพิ่มอรรถรสก่อนไปสยองกับหนังเดี่ยวของเธอ ที่กำลังจะเข้าฉายหลังสงกรานต์นี้ ในหนัง The Curse of La Llorona จะย้อนไปเล่าเรื่องราวที่เกิดในยุค 1970s แอนนา สาวนักสงคมสงเคราะห์ที่ไปทำงานในเม็กซิโกแล้วต้องไปตกอยู่ท่ามกลางอาถรรพ์พยาบาทของลา โลโรนา ทำให้ลูกๆ ทั้ง 2 ของเธอตกเป็นเป้าหมายของวิญญาณร้าย ลา โลโรนา ดูตัวอย่างแล้ว หลอนไม่แพ้เรื่องอื่นในจักรวาล The Conjuring เลยล่ะ ลา โลโรนา เป็นชื่อที่ไม่คุ้นในบ้านเรา แต่สำหรับชาวอเมริกาใต้นี่รู้จักชื่อเสียงเรียงนามนี้กันเป็นอย่างดี เพราะเธอเป็นผีพื้นเมืองที่มีตำนานมายาวนาน ประมาณผีนางนาคบ้านเรานี่ล่ะ คนแถบนั้นก็ชอบใช้ผีขู่เด็กๆ เหมือนบ้านเรานี่ล่ะ เวลาเด็กๆ วิ่งเล่นตอนค่ำแล้วไม่กลับบ้านสักที บรรดาแม่ๆ ก็จะขู่เด็กว่า “วิ่งเล่นมืดค่ำไม่เข้าบ้าน เดี๋ยวผี ลา โลโรนา ก็มาจับไปหรอก” เรียกว่าได้ผลชะงัด เพราะผี ลา โลโรนา นี่รู้จักกันในกิติศัพท์ว่าเป็นผีที่ชอบจับเด็กไป เพราะเธอเป็นผีที่โหยหาลูกของตัวเอง ตามตำนานเธอมีลูก 2 คน แล้วลูกของเธอตาย พอเธอเป็นผี เธอก็ออกต

ผีแม่ชี”THE NUN”

ผีแม่ชี

ผีแม่ชี”THE NUN” การค้นหาตัวตนที่แท้จริงของ Valak อาจทำให้เราดูบ้าๆ บอๆ เมื่อย้อนกลับไปดูภาพยนตร์เรื่อง The Nun ซึ่งปีศาจ Valak เป็นผู้บัญชาการกองทัพปีศาจจากขุมนรก ต้องเจอมันหลอกหลอนคนในวัดเหมือนผีทั่วไป แม่ชีมา มันควรจะทดสอบศรัทธาของลอร์เรน วอร์เรนในพระเจ้า แต่ก็ไม่สมเหตุสมผลเท่าไหร่ เพราะเราเคยเห็นใบหนาๆ ของมันมาก่อน ภายใต้หน้ากากแม่ชี แถมยังมียังมีความสามารถในการบดบังปิดบังการมองเห็น ทำให้มันกลายเป็นศัตรูที่น่ากลัวที่สุดของคู่หู Warren ที่ไม่เคยเจอมาก่อน ยังมีกล่าวว่ามันมีส่วนในเหตุการณ์ Annabelle แต่ไม่รู้ว่าเกี่ยวข้องกันอย่างไร ด้วยความสำเร็จอย่างล้นหลาม ซึ่งถูกกล่าวขานถึงความน่าสะพรึงกลัวของตัวละครปีศาจ ‘Valak’ ในภาพยนตร์สยองขวัญเหนือธรรมชาติ เรื่อง The Conjuring 2 ซึ่งมีทั้ง ภาค 1 และ ภาค 2 จนกระทั่งนำมาสู่เนื้อเรื่องแยกของตัวเอง ‘The Nun’ หากแต่ผีแม่ชีที่หลายๆ เรียกกันนั้นความจริงแล้วไม่ใช่ผี หากแต่เป็นอีกร่างหนึ่งของปีศาจ นาม ‘Valak’ ซึ่งมีเรื่องราวเป็นของตัวเองในคัมภีร์ทูตผีจากสมัยก่อนและอดีตด้วย จากตำราโบราณ Valak มีรูปร่างลักษณะเป็นอย่างไร ปีศาจ Valak ได้เลือกใ

นกแห่งความตาย นกแสก

นกแห่งความตาย

นกแห่งความตาย นกแสก ไขปริศนาความเชื่อ…เพราะเหตุใดนกแสกขึ้นชื่อว่าเป็นนกแห่งความตาย ในอดีต เรามักเคยได้ยินตำนานหรือคำร่ำลือต่อ ๆ กันมาช้านานว่าหากนกแสกกระพือปีกและส่งเสียงร้องบนหลังคาบ้านหลังไหนจะทำให้คนในบ้านหลังนั้นเสียชีวิต หรือเกิดความอัปมงคลขึ้นได้ แต่น้อยคนนักที่จะทราบถึงสาเหตุและความเป็นมาของความเชื่อเหล่านั้นว่าเพราะเหตุใดนกชนิดนี้จึงกลายเป็นนกแห่งความตาย วันนี้หรีดมาลาจึงมาไขปริศนาและตีแผ่ความเชื่อของเรื่องนี้ในทุกแง่มุมกันค่ะ รูปร่างและลักษณะของนกแสก นกแสกเป็นนกเค้าแมวชนิดหนึ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันมากทั้งสองเพศ แต่ว่าเพศเมียมีขนาดใหญ่กว่าเล็กน้อย ซึ่งนกชนิดนี้จะมีลักษณะใบหน้าเป็นรูปหัวใจและมีขนสีขาวขึ้นอยู่เต็มไปหมด แต่ว่าขอบรอบนอกจะมีขนเป็นสีน้ำตาลเข้ม ดวงตาดำกลมโต คอสั้น ปากเรียวแหลมงุ้มหรือจะงอยปากเป็นตะขอ ปีกยาว ขายาวและแข็งแรง หางค่อนข้างสั้น มีขนปกคลุมถึงปลายนิ้ว ปลายนิ้วเป็นกรงเล็บยาวแหลมงุ้ม เล็บนิ้วกลางหยักคล้ายฟันเลื่อย ลำตัวด้านบนมีขนสีเหลืองปนน้ำตาลหรือสีเทา ส่วนลำตัวด้านล่างและบริเวณใต้ปีกมีสีน้ำตาลอ่อนจนเกือบขาว มีจุดกลมรีสีน้ำตาลหรือเทากระจายอยู่ทั่วไปยกเว้นใ

เรื่องหลอนของตุ๊กตาไล่ฝน

เรื่องหลอนของตุ๊กตาไล่ฝน

เรื่องหลอนของตุ๊กตาไล่ฝน テルテルボス ช่วงที่ฝนฟ้าไม่ค่อยจะเป็นใจ อยากจะไปไหนมาไหนก็ไม่ถนัด จะซักผ้าก็ไม่ได้ เป็นเรื่องชวนหงุดหงิดใจซะจริงๆ คนไทยอย่างเราคงใช้วิธีปักตะไคร้เพื่อให้ฝนไม่ตก แต่ถ้าเป็นชาวญี่ปุ่นล่ะก็เขาจะมีเครื่องรางที่เอาไว้สำหรับขอพรเรื่องนี้โดยเฉพาะอยู่ สิ่งนั้นเรียกว่า เทะรุ เทะรุ โบสุ (Teru teru bouzu) หรือ ตุ๊กตาไล่ฝน นั่นเองครับ ตำนานหลอนๆของตุ๊กตาไล่ฝน คำว่า เทะรุ เทะรุ โบสุ (Teru teru bouzu) ถ้าจำแนกคำออกมาจะมีความหมายว่า หัวล้านแดดออก (เทะรุ แปลว่า แดดออก และ โบซุ แปลว่า หัวล้าน (ในที่นี่หมายถึง พระสงฆ์ ก็สามารถแปลได้) เป็นตุ๊กตาตัวเล็กๆ ทำจากผ้าสีขาว หัวกลมโต วาดหน้าตาไว้อย่างง่ายๆ นิยมแขวนไว้นอกหน้าต่างหรือหน้าประตูบ้าน เด็กๆ ญี่ปุ่นนิยมแขวนไว้ในวันก่อนที่จะมีวันสำคัญๆ เช่น วันออกทัศนศึกษา วันงานกีฬาสี ฯลฯ และถ้าหากว่าวันต่อมาฝนไม่ตกจริงๆ ล่ะก็ จะต้องแขวนกระดิ่งหรือเทสาเกให้กับตุ๊กตาไล่ฝน เพื่อเป็นการขอบคุณด้วย และในทางกลับกัน ถ้าเกิดอยากให้ฝนตกล่ะก็ ให้แขวนตุ๊กตาไล่ฝนกลับหัวจะช่วยได้เหมือนกัน วิธีนี้ส่วนมากชาวนาญี่ปุ่นจะทำกันเพื่อให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล ตุ๊กตาไล่ฝน テル

ตุ๊กตาฟาง

ตุ๊กตาฟาง

ตุ๊กตาฟาง 丑刻参り ก่อนอื่นต้องถามเพื่อน ๆ ว่า เราเคยเกลียดใครสักคนจนอยากจะสาปแช่งให้เขาคนนั้นถึงขั้นมีอันเป็นไปหรือเปล่า? แน่นอนว่าการมุ่งร้ายคนอื่น ๆ เป็นสิ่งที่ไม่ดี และเราก็อยากให้เพื่อน ๆ หันหน้าเข้าหากันคลี่คลายปัญหาอย่างฉันท์มิตรและสร้างสรรค์มากกว่าการทำร้ายหรือทำลายกัน แต่รู้หรือไม่ว่า ในสังคมซามูไรผู้ห้าวหาญอย่างชาวญี่ปุ่นนั้น แม้จะมีกฎระเบียบควบคุมไม่ให้ฆ่าฟันกันอย่างไม่มีขื่อมีแปก็ตาม แต่ก็ยังมีพิธีกรรมความเชื่ออย่างหนึ่งที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการตอบสนองความเกลียดชังต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกันอยู่ “อุชิ โนะ โคะคุไมริ” (丑刻参り) คือชื่อของ “พิธีกรรมสาปแช่ง” ที่เกิดจากความเชื่อในอดีตโบราณของคนญี่ปุ่น ที่มีมาตั้งแต่สมัยเอโดะ (คริสศักราช 1603 – 1868) เป็นพิธีที่ใช้สาปส่งคนที่ไม่ชอบ คนที่เกลียด คนที่เป็นศัตรู หรือคนที่มีเคียดแค้นเป็นการส่วนตัว คล้ายการเผาพริกเผาเกลือและเสกตะปูเข้าท้องแบบบ้านเรา แต่พิธีอันน่ากลัวนี้หวังผลให้อีกฝ่ายถึงแก่ความตาย (พูดแล้วก็ขนลุก) อุปกรณ์ที่ต้องใช้ทำพิธีมีดังต่อไปนี้ ตุ๊กตาฟางที่มัดเป็นรูปร่างคล้ายคน ตะปูโกซันคุกิ ค้อน หรือก้อนหินขนาดอุ้งมือ ซึ่งสมัยก่อนต้องท

ตุ๊กตาวูดู

ตุ๊กตาวูดู

ตุ๊กตาวูดู VooDoo Doll หลายคนคงอาจจะคุ้นหน้าคุ้นตาเจ้า Voodoo doll หรือ “ตุ๊กตาวูดู” ลักษณะเฉพาะของมัน จะมีรอยฝีเข็มถูกเย็บอยู่ตามร่างกายอย่างเห็นได้ชัด อีกทั้งยังถูกปักไว้ด้วยหมุดจำนวนมาก เป็นภาพที่ชวนสยองแค่ได้พบเห็น ที่ใดมีการทำพิธีกรรมสาปแช่งที่นั่นต้องมี “ตุ๊กตาวูดู” โดยเรานั่นมักจะนำตุ๊กตาวูดูนั่นมาทำเป็นพวงกุญแจ หรือ พบได้ในซีรีส์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง กับ การเล่นไสยศาสตร์ มนตร์ดำ ใช้ตุ๊กตาตัวนี้เป็นตัวตายตัวแทน ปลุกเสก และ สาปแช่งศัตรูให้เจ็บไข้ หรือเสียชีวิต ที่น่าสนใจคือ ตุ๊กตาวูดูที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการทำพิธีกรรมชั่วร้าย แต่ในขณะเดียวกัน มันก็เป็นเหมือนตุ๊กตาธรรมดาทั่วไปที่ไม่มีพิษมีภัย มันมีไว้ทำอะไรกันแน่? มาทำความเข้าใจกัน ที่มาของ “ตุ๊กตาวูดู” วูดู หรือ “Voodoo” เป็นชื่อที่ได้มีการหยิบยืมมาจากชื่อของ “ศาสนาวูดู” หรือ “ลัทธิวูดู” ซึ่งเป็นศาสนาของชนพื้นเมืองของชาวเฮติ และ ชาวเมืองนิวออร์ลีนส์ รัฐลุยเซียนา ที่ประเทศ สหรัฐอเมริกา ศาสนานี้เป็นเหมือนวิถีชีวิตของชาวพื้นเมือง ที่แสดงออกถึงความเชื่อ ค่านิยม ที่ยึดถือมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ เป็นศูนย์รวมจิตวิญญาณที่เชื่อมโยงผู้คน

ตุ๊กตาคิคุโกะ

ตุ๊กตาคิคุโกะ

ตุ๊กตาคิคุโกะ สวัสดีครับ ที่ประเทศญี่ปุ่นมีเรื่องเล่าความน่ากลัวอยู่เรื่องนึง เกี่ยวกับตุ๊กตา ที่แม้เวลาจะผ่านยาวนานหลายปี แต่ตำนานนี้ก็ยังหลอนตรึงใจคนญี่ปุ่นแบบไม่เคยลืม นั้นคือ “ตุ๊กตาคิคุโกะ” ตุ๊กตาที่หลายคนเล่าขานว่า คือ ตุ๊กตาเพื่อนตาย ที่ยังมีลมหายใจ ไปอ่านเรื่องราวนี้กันเลยครับ ตุ๊กตา “คิคุโกะ” (Kikuko) เป็นชื่อของตุ๊กตาที่มีอยู่จริงในประเทศญี่ปุ่น ปัจจุบันตุ๊กตาตัวนี้อยู่ที่วัดมันเนน (Mannen Temple) หมู่บ้านคุริซาว่า (Kurizawa) อำเภอโงจิ (Goji) จังหวัดฮอคไกโด (Hokkaido) มีเรื่องเล่าว่าเจ้าของตุ๊กตาตัวนี้เป็นเด็กผู้หญิงชื่อ “คิคุโกะจัง” ซึ่งเป็นของขวัญที่พี่ชายเธอซื้อให้ เธอรักตุ๊กตาตัวนี้มาก กินด้วยกันนอนด้วยกัน แทบไม่ห่างตัว ถือเป็นเด็กที่ติดตุ๊กตายิ่งกว่าพ่อแม่เสียอีก จนเมื่อเด็กหญิงป่วยและเสียชีวิตลงด้วยวัยเพียง 3 ขวบเท่านั้น พ่อแม่ของเธอได้นำตุ๊กตาไปวางไว้ที่ป้ายวิญญาณด้วย เพื่อหวังให้ตุ๊กตาตัวนั้นไปเป็นเพื่อนเล่นกับลูกในยามที่จากไปแล้ว แต่หลังจากนั้นกลับมีเรื่องประหลาดเกิดขึ้น เมื่อพี่ชายของเธอได้กลับจากสงคราม และมาเยี่ยมน้องสาวที่สุสานอีกครั้ง กลั

ตำนาน “เนโกะมาตะ” แมวปีศาจ

ตำนาน-“เนโกะมาตะ”-แมวปีศาจ

ตำนาน “เนโกะมาตะ” แมวปีศาจ (猫又) วัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ทำความรู้จักกับเหล่าเทพแห่งความรักชื่อดังของญี่ปุ่น READ MORE แม้ปัจจุบันญี่ปุ่นจะเป็นประเทศที่มีความเจริญก้าวหน้าทั้งทางด้านเศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีต่างๆ มากมาย แต่จริงๆ แล้วญี่ปุ่นเองก็เป็นประเทศหนึ่งที่มีตำนาน เรื่องเล่าขาน หรือนิทานพื้นบ้านเกี่ยวกับปีศาจในแทบทุกจังหวัดของประเทศ โดยในสมัยโบราณคนญี่ปุ่นมีความเชื่อว่าปีศาจคือสิ่งมีชีวิตที่กลายร่างมาจากสรรพสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบกายมนุษย์ เช่น ก้อนหิน ต้นไม้ หรือแม้กระทั่งสัตว์ต่างๆ ก็สามารถกลายร่างเป็นปีศาจได้เช่นกัน และหนึ่งในตำนานสัตว์ปีศาจที่เป็นที่กล่าวถึงมากที่สุดคงจะหนีไม่พ้น “เนโกะมาตะ” (猫又) หรือก็คือปีศาจแมวสองหางนั่นเอง จากแมวชราสู่แมวปีศาจ ตัวอย่างภาพวาดเนโกะมาตะในสมัยเอโดะ   ตามตำนานกล่าวว่าเนโกะมาตะ เดิมคือแมวที่เคยใช้ชีวิตในฐานะที่เป็นสัตว์เลี้ยงของมนุษย์ หรือแมวธรรมดาทั่วไปๆ ที่อาศัยอยู่บนภูเขา แต่เนื่องจากมีอายุที่ยืนยาวมากกว่าแมวปกติทั่วไป จึงกลายร่างเป็นแมวปีศาจเนโกะมาตะ ส่วนลักษณะรูปร่างนั้นโดยทั่วไปจะมีเขี้ยวเล็บที่แหลมคมกว่าแมวปกติ มีลักษณะร่างกายและกา

ผีนางรำ

ผีนางรำ

ผีนางรำ ผีนางรำ ที่เรียกได้ว่าสร้างความเฮี้ยนให้กับสถานที่ต่างๆ ได้ไม่น้อย ซึ่งหากจะกล่าวอย่างติดตลกให้ลดความน่ากลัวสักหน่อย คงจะเรียก “ผีนางรำ” ได้ว่าเป็นผีที่ต้องมีออปชั่นเสริม นั่นก็คือมักจะมาพร้อมกับเสียงดนตรี อีกทั้งต้องเป็นเสียงดนตรีไทยเสียด้วย แล้วทำไมต้องเป็นดนตรีไทยล่ะ ดนตรีสากลไม่ได้หรือ และ อีกหนึ่งออฟชั่นที่ทำให้วพกเราทุกคนนั่นขนลุกซู่คือเสียง “หมาหอน” ซึ่งอาจจะมาก่อนหรือหลังเสียงดนตรีไทยแล้วแต่เหตุการณ์ แต่เชื่อว่าทุกคนคงจะเผ่นหนีทันทีโดยพร้อมเพียงกัน นอกจากเสียงล่ำลือว่า “ผีนางรำ” จะมาพร้อมกับเสียงดนตรีแล้วก็ยังมากับชุดนางรำ หรือชุดประจำท้องถิ่นที่แต่งองค์ทรงเครื่องเต็มยศ สร้างความหลอนสิบแปดตลบให้คนต้องขวัญผวากันถ้วนหน้ากับท่าร่ายรำที่อ่อนช้อย แต่แฝงไปด้วยความน่ากลัวสุดขนลุก โดยเรื่องเล่าขานส่วนใหญ่ลงความเห็นเป็นเสียงเดียวกันว่า “ผีนางรำ” อาจจะเป็นบุคคลซึ่งเคยเป็นมนุษย์แต่เสียชีวิตขณะใส่ชุดรำ หรือบุคคลที่ทำอาชีพเป็นนางรำแต่ได้เสียชีวิตลงอย่างปริศนาและต้องการให้มนุษย์ที่ยังมีชีวิตอยู่อย่างเราได้ไขความลับเหตุผลที่เขาเสียชีวิต

ผีเจียงชือ

ผีเจียงชื่อ

ผีเจียงชือ เจียงชือ เป็นผีจำพวกแวมไพร์หรือซอมบี้ตามความเชื่อของจีน เจียงชือ ปรากฏในวัฒนธรรมร่วมสมัยหลายยุคหลายสมัยมีทั้งการนำไปตีแผ่เป็น ภาพยนตร์ เช่น เรื่อง Mr.Vampire ผีกัดอย่ากัดตอบ ซึ่งมีถึง 5 ภาคเลยทีเดียว  หรือ ในวิดีโอเกมต่าง ๆ เช่น Reigen Doushi เปา เปา โดยมักปรากฏในเครื่องแต่งกายชุดขุนนางยุคราชวงศ์ชิงหรือตัวละครในการ์ตูนญี่ปุ่นชุด Dragon Ball ชื่อ เจาสึ ก็ดัดแปลงมาจาก เจียงซือ เจียงชือ เชื่อว่าเป็นแวมไพร์ที่อาศัยนอนหลับอยู่ในโลงศพหรือถ้ำในเวลากลางวัน และในเวลากลางคืนจะออกหากินด้วยการดูดเลือดของมนุษย์หรือสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ด้วยการกระโดด เจียงซือมีผิวที่ขาวซีดและมีขนยาว ซึ่งเกิดจากเชื้อรา ที่เจริญเติบโตบนร่างกาย แต่ถ้าเจียงชือกระโดดข้ามกระสอบข้าว จะก้มลงนับเมล็ดข้าวทุกเมล็ด ซึ่งวิธีป้องกันเจียงซือ บางครั้งจะใช้การโปรยเมล็ดพืชหรือข้าวไว้ตามทางเดินหรือหลังคาบ้าน เพื่อถ่วงเวลาให้เจียงซือนับเมล็ดข้าวจนถึงเช้า ซึ่งวิธีการเช่นนี้ก็เป็นวิธีเดียวกันกับการป้องกันแวมไพร์ของยุโรป แท้จริงแล้ว เจียงชือ เป็นความเชื่อในทางไสยศาสตร์ของลัทธิเต๋าหรือเหมาซาน ชาวจีนมีความเชื่อว่า เมื่อมีผู้ตายลง ศพ