ตำนานงูยักษ์แปดหัว
เทพวายุซูซาโนโอะ ใช้ค่ายกลประตูแปดบาน วางไหเหล้าสาเกไว้ทุกประตูบ้านและนำหญิงสาวคนอื่นในหมู่บ้านซ่อนไว้ด้านในสุด เมื่อยามาตะ โน โอโรจิเห็นไหสาเกก็ไม่รอช้าที่จะพุ่งหัวทั้งแปดเข้าไปในประตูทุกบานและงับไหเหล้า ส่งผลให้ ซู ซาโนโอะสามารถตัดหัวงูยักษ์ทั้งหมดได้
เมื่อปราบงูยักษ์สำเร็จ เขาพบกับดาบวิเศษที่ฝังอยู่ในหางของงู เขาจึงนำดาบที่ว่าเก็บกลับไปให้เทพีอามาเทราสุแห่งพระอาทิตย์ซึ่งเป็นน้องสาวให้เป็นผู้เก็บไว้ ซึ่งเทพีอามาเทราสุเป็นต้นตระกูลของจักรพรรดิญี่ปุ่น และดาบวิเศษที่ชื่อว่าคุซานางิก็เป็นดาบประจำตระกูลที่อยู่คู่บัลลังก์และส่งต่อมายังรุ่นสุ่รุ่นจนถึงยุคปัจจุบัน
สมัยสมเด็จพระจักรพรรดิเคโกะ จักรพรรดิองค์ที่ 12 ของญี่ปุ่นมีลูกชายฝาแฝดชื่อทาเครุทั้งสองคน เมื่อทั้งคู่อายุได้ 15 ปี พี่น้องเกิดฆ่ากันเองโดยไม่มีใครทราบสาเหตุ ทำให้พระบิดาไม่พอใจเป็นอย่างมากแต่ไม่กล้าทำอะไรเพราะกลัวไม่มีผู้สืบทอดบัลลังก์ จึงตัดสินใจส่งโอรสองค์เดียวที่เหลือไปปราบกบฎทางตอนใต้สุดของอาณาจักร ก่อนที่ทาเครุจะออกเดินทางเขาได้แวะขอพรกับเจ้าป้าที่เมืองอิเซะพร้อมได้ดาบ เสื้อคลุม และผ้านุ่งสำหรับออกศึก
หลังจากที่ทาเครุสามารถปราบกบฎสำเร็จเขากลับมายังพระราชวังและหวังว่าบิดาจะหายโกรธเขา แต่จักรพรรดิเคโกะออกคำสั่งให้เขาออกไปปราบกบฎทางฝั่งตะวันออกต่อทันที ทาเครุอ่อนล้าจากการทำศึกอย่างต่อเนื่องและก่อนออกศึกเขากลับไปหาเจ้าป้าอีกครั้งพร้อมระบายความอัดอั้นตันใจ เจ้าป้าจึงมอบดาบคุซานางิซึ่งเป็นศาสตราวุธศักดิ์สิทธิ์ให้
ฝ่ายกบฎต้อนรับการมาถึงของทาเครุโดยการวางอุบายหลอกว่าบริเวณทุ่งหญ้ารอบหมู่บ้านมีปีศาจร้ายซ่อนตัวอยู่และขอร้องให้ทาเครุช่วยกำจัดปีศาจร้าย ทาเครุได้ยินดังนั้นจึงรีบมุ่งหน้าไปยังทุ่งหญ้าที่ว่าเพียงลำพังทันที
เมื่อเขาหลงกลฝ่ายกบฎจัดการจุดไฟรอบทุ่งหญ้าเพื่อหวังจะเผาทาเครุทั้งเป็น และเมื่อทาเครุชักดาบคุซานางิออกมาจากฝัก พลังของดาบสามารถตัดต้นหญ้าติดไฟทุกต้นให้ราบเป็นหน้ากอง รวมถึงปราบกบฎจนสิ้นซาก
ด้วยเรื่องเล่าที่เกี่ยวข้องกับหญ้าจึงทำให้ตำนานของดาบคุซานางิเรื่องนี้มีคนญี่ปุ่นเชื่อถือมากพอสมควร เพราะชื่อดาบคุซานางิมีความหมายว่า ดาบตัดหญ้า และมีอีกชื่อหนึ่งว่าดาบอาเมโนะมุราคุโมะ ที่มีความหลายว่าดาบเมฆสวรรค์ชุมนุมอีกด้วย
อีกหนึ่งตำนานที่เอ่ยถึงดาบคุซานางิคือตำนานเฮเกะ จากช่วงสงครามเก็มเป Genpei Gassen เรื่องราวของการแย่งชิงอำนาจระหว่างตระกูลมินาโมโตะกับตระกูลไทระ เมื่อตระกูลไทระพลาดพลั้ง พระอัยกีหรือปู่ของจักรพรรดิอันโตะกุอุ้มองค์จักรพรรดิน้อยพร้อมลูกปัดหยกยาซากะนิโมะ มางะตามะและดาบคุซานางิกระโจนลงทะเลสาบอิสึโมะ
แต่เพราะด้วยนี่คือตำนาน การเล่าเรื่องและตัวละครบางครั้งอาจผิดเพี้ยนไม่เหมือนกัน บางคนก็เล่าว่าเป็นหน้าผาริมทะเลและคนที่กระโดดลงไปคือพระชายาเพื่อยอมรับความพ่ายแพ้ โดยมีนางในถือกระจก ยาตา โนะ คะงะมิ หรือเรียกสั้น ๆ ว่ากระจกยาตะพยายามจะโดดลงทะเลตามแต่เธอกลับถูกจับตัวไว้ทัน กระจกสำริดจึงยังคงอยู่ ดาบคุซานางิจึงจมลงสู่ทะเล แต่บางตำนานก็เล่าต่อว่าดาบได้ลอยกลับเข้าฝั่ง
ของทั้งสามอย่างเป็นท่าโจมตีของพลเอกคิซารุแห่งกองทัพเรือ บ่อยครั้งที่เราจะเห็นได้ว่าคนญี่ปุ่นมักนำตำนานโบราณของตัวเองมาผสมผสานให้เข้ากับวัฒนธรรมของยุคสมัยใหม่อยู่เสมอ ซึ่งการนำเรื่องราวตำนานเก่าแก่มาสอดแทรกอยู่ใน
ในสมัยเอโดะนักบวชที่ชื่อมัตสึโอกะ มาซานาโอะ อ้างว่าตนเคยเห็นดาบคุซานางิ เขาเล่าว่าดาบมีความยาว 82 เซนติเมตร ตัวดาบทำจากโลหะชั้นดีสีขาวสภาพสมบูรณ์ คมดาบคล้ายใบว่านน้ำ กลางคมดาบมีสันคล้ายก้างแกนสันหลังปลา เก็บไว้ในกล่อง 3 ชั้น ชั้นในสุดคือกล้องไม้การบูร ชั้นต่อมาคือกล่องหิน ส่วนชั้นนอกสุดคือกล่องไม้แบบที่เห็นตามหน้าหนังสือพิมพ์
ไม่มีใครสามารถยืนยันได้ว่านักบวชมาซานาโอะเห็นดาบคุซานางิจริงตามที่เล่าหรือไม่ รวมถึงตำนานเฮเกะยังคงเป็นที่ถกเถียงกันจนถึงปัจจุบันของนักประวัติศาตร์ เพราะไม่สามารถยืนยันได้ว่าดาบคุซานางิจมลงทะเลพร้อมกับจักรพรรดิอันโตะกุ หากถ้าจมลงทะเลจริง ๆ แล้วดาบอันปัจจุบันคือของจริงหรือเป็นดาบที่ถูกตีขึ้นมาใหม่แทน
ถึงแม้ว่าดาบที่อยู่ในกล่องไม้จะเป็นดาบคุซานางิแบบดั้งเดิม หรือจะเป็นดาบที่ถูกตีขึ้นมาใหม่ หรือถ้าให้เชื่อทฤษฎีสมคบคิดว่าแท้จริงแล้วในกล่องนั้นไม่มีดาบอยู่เลยก็แล้วแต่ความเชื่อของแต่ละบุคคล แต่ดาบคุซานางิก็ยังคงเป็นดาบที่เลื่องชื่อและถูกพูดถึงต่อกันมาหลายยุคสมัย เป็นความภาคภูมิใจ เป็นอีกหนึ่งสัญลักษณ์ที่บอกเล่าความกล้าหาญของคนญี่ปุ่น
ปัจจุบันดาบคุซานางิถูกประดิษฐานไว้ที่ศาลเจ้าเก่าแก่อันดับสองของญี่ปุ่นอย่างอัตสึนะ ในเมืองนาโงย่า แต่ปัจจุบันได้ย้ายไปไว้ที่พระราชวังอิมพิเรียลเป็นที่เรียบร้อยเพื่อความปลอดภัย
ติดตามเรื่องราวตำนาน สิ่งลี้ลับ เรื่องเล่าชวนหลอน : รีวิวเรื่องตำนานสิ่งลี้ลับเรื่องผี
สามารถติดตามเรื่องราวในตำนาน สิ่งลี้ลับ เรื่องเล่าชวนหลอนได้เพิ่มเติมที่แฟนเพจของเรา : Storyreview