STORYREVIEW
ตำนาน เรื่องหลอน เรื่องลี้ลับ 2023

ถ้ำซ่อนผีเมืองตรัง

ถ้ำซ่อนผีเมืองตรัง

ถ้ำซ่อนผีเมืองตรัง ท่ามกลางบรรยากาศอันเงียบสงบของจังหวัดตรัง เต็มไปด้วยคาเฟ่ที่น่านั่งทำงานและสถานที่ท่องเที่ยวมากมายให้เราได้พักผ่อนหย่อนใจกันแบบสโลว์ไลฟ์ มีแต่รอยยิ้มและความสุข มีคนจำนวนน้อยมากที่จะรู้ว่าใจกลางเมืองตรังนี้ยังมีสถานที่ลึกลับแห่งหนึ่งที่ซ่อนเรื่องราวอดีตที่แสนเศร้าและแสนขนลุกจนพอกาลเวลาเปลี่ยนผ่านไป ทุกคนที่อยู่ในเหตุการณ์ก็เริ่มลืมเลือนกันไปและคนรุ่นหลังก็ไม่ได้รับรู้ถึงเรื่องราวเหล่านั้นกันนัก ด้วยไม่ใช่เรื่องราวที่ใหญ่โตและไม่ใช่สิ่งที่ควรจดจำเท่าไหร่กับความเศร้าในอดีต ณ สถานที่ซึ่งตอนนี้เป็นสวนสาธารณะขนาดใหญ่ที่ผู้คนในจังหวัดตรังและคนที่อยู่ต่างจังหวัดให้ความสนใจมาเที่ยวพักผ่อนกันในยามว่างมากที่สุด เพราะมีดินดอนอันเป็นที่ตั้งของภูเขาอยู่กลางหนองน้ำในตัวจังหวัดทำให้เป็นหนึ่งในสวนสาธารณะที่มีความแปลกและสวยงามมาก ในวันนี้เราก็จะขอพาทุกคนมารู้จักกับเรื่องราวอีกมุมหนึ่งของสวนสาธารณะสวยงามแห่งเมืองตรังผ่านประสบการณ์สุดสยองของผู้เล่าที่บอกว่า แท้จริงสวนสาธารณะแห่งนี้มี “ถ้ำ”ซ่อนอยู่บนเขา เป็นเรื่องเล่าของผู้เล่าทางบ้านท่านหนึ่งที่ขอใช้นามสมมุติว่า “คุณต้น” ซึ่งได้พบกับเห

สัตว์ในตำนานกริฟฟิน

สัตว์ในตำนานกริฟฟิน

สัตว์ในตำนานกริฟฟิน เรื่องลี้ลับ ตำนานกริฟฟิน หรือ “กริฟฟอน” เป็นสัตว์ในเทพนิยาย ซึ่งขึ้นว่าเป็นเจ้าแห่งสิ่งมีชีวิตทั้งปวง ด้วยลักษณะที่มีส่วนผสมของสิงโตที่เป็นสัตว์เจ้าป่าและนกอินทรีย์เจ้าแห่งเวหา โดยกริฟฟินนั้น จะมีขาหลังและลำตัวรวมถึงหางเหมือนสิงโต แต่มีหัว ปีกและอุ้งเท้าหน้าเป็นนกอินทรีย์ บางตำนานว่า มีหางเป็นงูหรือสิงโต และขนาดตัวของกริฟฟินใหญ่กว่าสิงโตถึง 8 เท่า สมัยก่อนมีความเชื่อว่า กริฟฟินเป็นซาตานที่แปลงกายมาล่อลวงวิญญาณมนุษย์ แต่ด้วยลักษณะที่สง่างามดังกล่าว ทำให้ภายหลังผู้คนเริ่มโอนเอนเชื่อว่า แท้จริงแล้ว กริฟฟินเป็นตัวแทนของเทพและบางครั้งจะถ่ายทอดรูปลักษณ์ของกริฟฟินออกมาเป็นสิงโต 4 ขา มีใบหูเหมือนสิงโตหรือม้า แต่ทั่วทั้งตัวขนเป็นนก บางตำนานกล่าวว่า มีเฉพาะกริฟฟินตัวเมียเท่านั้นที่มีปีก ส่วนตัวผู้ตรงที่ควรจะงอกเป็นปีกจะมีหนามแหลมคมงอกออกมาแทน กริฟฟินมีลักษณะท่าทางสง่างาม ทรงพลังและหยิ่งยโส มันชอบของมีค่าแวววาว จึงมักจะตั้งรังอยู่แถวบริเวณขุมสมบัติหรือเหมืองทอง อีกทั้งกริฟฟินยังไข่ออกมาเป็นอัญมณีโมราหรืออาเกตที่มีสีสันหลากหลาย ผิวเรียบมันวาวสวยงาม แข็งแรงทนทาน ซึ่งชาวอียิปต์

ตำนานเทพมังกร

ตำนานเทพมังกร

ตำนานเทพมังกร เชื่อว่าในปัจจุบันไม่ว่าเราจะเป็นใครมาจากไหนก็คงจะต้องรู้จักสัตว์ในตำนานที่มีชื่อเสียงสุดโด่งดังอย่าง “มังกร” กันมาบ้างสักครั้ง เพราะมังกรนั้น ไม่เพียงแต่สามารถเห็นได้จากในสื่อต่างๆ มากมาย แต่พวกมันยังปรากฏอยู่ในตำนานของแทบจะทุกประเทศด้วยแน่นอนว่าด้วยความเก่าแก่ของมังกรเองก็ทำให้เราไม่สามารถบอกได้เลยว่ามังกรนั้นมีจุดเริ่มต้นของตำนานอยู่ที่ไหนกันแน่ อย่างไรก็ตามเรื่องราวของมังกรนั้นมีบันทึกไว้ตั้งแต่ในสมัยของอารยธรรมกรีกและอารยธรรมซูเมอร์  ทั้งในฐานะของผู้ปกป้อง และผู้ทำลาย สำหรับคนในสมัยก่อนแล้วมังกรไม่เพียงแต่เป็นเพียงตำนานเท่านั้น แต่สำหรับพวกเขาแล้วสัตว์ชนิดนี้มีตัวตนอยู่จริงๆ ที่ไหนสักแห่ง และกระดูกสัตว์ขนาดใหญ่ที่ถูกพบในเวลานั้น ก็มักจะถูกเหมาว่าเป็นมังกรไปเสียหมด ซึ่งก็คงไม่แปลกนักสำหรับยุคสมัยที่คนยังไม่รู้จักไดโนเสาร์กัน แม้มังกรอาจจะเป็นสิ่งที่ใครๆ ก็รู้จักก็ตาม ภาพลักษณ์ของมังกรในแต่ละพื้นที่ก็แตกต่างกันไปกว่าที่เราคิด อย่างทางจีนมังกรจะมีสภาพตัวยาวๆ และเป็นสัญลักษณ์ที่ดี ในขณะที่ทางยุโรปมังกรมักถูกมองว่ามีลำตัวและขาขนาดใหญ่อีกทั้งยังมักมีภาพลักษณ์ที่ไม่ดีคนอัศ

ยักษ์ปู่แสะย่าแสะพิธีเลี้ยงผีของล้านนา

ยักษ์ปู่แสะย่าแสะพิธีเลี้ยงผีของล้านนา

ยักษ์ปู่แสะย่าแสะพิธีเลี้ยงผีของล้านนา ‘ปู่แสะย่าแสะ’ ตามตำนานเป็นชื่อของยักษ์สองผัวเมียซึ่งเชื่อกันว่าเป็นต้นเค้าบรรพบุรุษของชาว ‘ลัวะ’ ที่ได้กลายมาเป็นผู้พิทักษ์รักษาเมืองเชียงใหม่ เรื่องราวปู่แสะย่าแสะมีเค้าโครงหลักที่สอดคล้องกับตำนานพระเจ้าเลียบโลกซึ่งแพร่หลายในภูมิภาคล้านนา ว่าด้วยการเผชิญหน้าระหว่างพระพุทธเจ้ากับปู่แสะย่าแสะและลูกซึ่งเป็นยักษ์ดุร้าย ตามตำนานกล่าวไว้อีกว่าปู่แสะย่าแสะเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ต่อพระพุทธเจ้า และหันมารับศีลห้าเลิกฆ่าสัตว์ตัดชีวิต อย่างไรก็ตามการที่ปู่แสะย่าแสะเคยเป็นยักษ์มาก่อน จึงขออนุญาตต่อพระพุทธเจ้าที่จะกินสัตว์ตามสัญชาติญาณยักษ์ ความเชื่อดังกล่าวนำมาสู่การฆ่าควายเพื่อเซ่นสังเวยปู่แสะย่าแสะของชาวบ้านตำบลแม่เหียะ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า ‘เลี้ยงดง’ เป็นประจำทุกปีในวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 9 เหนือ โดยในพิธีกรรมจะมีการลงทรงของม้าขี่ (คนทรง) ปู่แสะย่าแสะซึ่งจะทำการกินเลือดและเนื้อควายสด ในพิธีกรรมยังมีการแขวนผ้า ‘พระบฏ’ เป็นสัญลักษณ์แทนพระพุทธเจ้าสอดคล้องกับเรื่องราวในตำนาน หากพิจารณาถึงความเชื่อเรื่องผีในล้านนาอาจกล่าวได้ว่าปู่แสะย่าแสะ

ตำนานพิธีผีมดและผีเม็ง

ตำนานพิธีผีมดและผีเม็ง

ตำนานพิธีผีมดและผีเม็ง ผีประจำตระกูลอีกอย่างหนึ่งที่จัดอยู่ในเครือผีบรรพบุรุษหรือผีปู่ย่า ซึ่งมักจะพบมีการนับถืออยู่ในเขตชุมชนเมืองเป็นส่วนมากเนื่องจากเป็นผีของคนในเมืองที่สืบเชื้อสายมากจากตระกูลเจ้านายและขุนนาง พิธีกรรมจะค่อนข้างซับซ้อน ตระกูลของผีมดผีเม็งมักสืบเชื้อสายไปได้ไกลและผีปู่ย่าของตระกูลผีมดผีเม็งจะมีชื่อเรียกขานเป็นชื่อเจ้านายอยู่ในตำนาน ซึ่งจะแตกต่างจากผีปู่ย่าโดยทั่วๆไปที่จะไม่มีชื่อเรียกขานเฉพาะ ตระกูลที่นับถือผีมดผีเม็งในทุกวันนี้มีเหลืออยู่ไม่มากนัก ซึ่งส่วนใหญ่จะมีอยู่ที่เมืองเชียงใหม่ ลำพูน และลำปาง แต่สำหรับเมืองอื่นๆแทบจะไม่ปรากฏ โดยข้อเท็จจริงแล้วผีมดและผีเม็งนั้นเป็นผีประจำตระกูลที่มีความแตกต่างกันทั้งในความเป็นมาที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มชนและรายละเอียดในพิธีกรรม แต่มักจะถูกเรียกรวมกันว่า ผีมดผีเม็ง เนื่องจากพิธีกรรมในการเลี้ยงผีมดผีเม็งนั้นจะจัดในช่วงเวลาใกล้เคียงกันและมีฟ้อนรำ หรือที่เรียกว่า ฟ้อนผี เพื่อเป็นการสังเวยผีบรรพบุรุษเหมือนกัน บางครั้งก็จะมีการจัดฟ้อนผีร่วมกัน เรียกว่า ผีมดซอนเม็ง ดังนั้นพิธีกรรมในการเลี้ยงผีดังกล่าวนี้จึงจัดเป็นประเพณีทีมักเรียกรวมกันไ

การฟ้อนรำผีชาวล้านนา

การฟ้อนรำผีชาวล้านนา

การฟ้อนรำผีชาวล้านนา นับว่าเป็นอีกประเพณีหนึ่งที่เก่าแก่ของชาวล้านนาที่นับมีความน่าสนใจเป็นอย่างยิ่งและพบว่า มีอยู่ทั่วไปในสังคมของชาวล้านนาและเป็นเรื่องสำคัญที่เกี่ยวข้องอยูทนโครงสร้างทางสังคมและใกล้ชิดกับวิถีชีวิตของชาวล้านนาเป็นอย่างมาก ปัจจุบันแม้ว่าความเชื่อดังกล่าวจะได้ลดน้อยลงแต่ก็ยังหลงเหลือและสะท้อนให้เห็นถึงความคิดความเชื่อในเรื่องดังกล่าวนี้ได้ในประเพณีและพิธีกรรมต่างๆที่ชาวล้านนาปฏิบัติกันในทุกวันนี้ เมื่อกล่าวถึงเรื่องผีและการนับถือผีของชาวชนบทในสังคมไทยโดยทั่วไปแล้ว หลายคนอาจจะมองเห็นว่าเป็นเรื่องงมงายไร้สาระ แต่ในสภาพของความเป็นจริงแล้วการนับถือผีเป็นระบบความเชื่ออย่างหนึ่ง ที่ค่อนข้างจะมีความสำคัญเกี่ยวข้องกับชุมชนและวิถีของผู้คนที่อยู่ในสังคมค่อนข้างมาก โดยเฉพาะในสังคมของชาวล้านนา การนับถือผีดูจะยิ่งมีความสำคัญมากขึ้น เพราะความเชื่อในการนับถือผีนั้นเป็นระบบที่มีความสัมพันธ์กับโครงสร้างทางสังคมของผู้คนในชุมชนให้ดำรงอยู่ร่วมกันได้อย่างราบรื่น แม้ว่าพระพุทธศาสนาจะได้รับการนับถืออย่างแน่นแฟ้นและมีบทบาทที่สำคัญเกี่ยวข้องอยู่ในชีวิตของชาวล้านนาอย่างมาก แต่อิทธิพลของพระพุทธศ

ตำนานพิธีกรรมหม้อตาหม้อยาย

ตำนานพิธีกรรมหม้อตาหม้อยาย

ตำนานพิธีกรรมหม้อตาหม้อยาย ความเป็นมาของชุมชนบ้านหนองขาวมีเรื่องเล่าร่วมสมัยกับรัชกาลพระเจ้าเอกทัศน์ กษัตริย์องค์สุดท้ายในแผ่นดินอยุธยา เมื่อพม่ายกกองทัพเข้าโจมตีจนต้องเสียกรุงเป็นครั้งที่ ๒ ขุนนางนักปราชญ์ราชบัณฑิตช่างศิลป์ไพร่บ้านพลเมืองถูกกวาดต้อนไปพม่าจำนวนมาก ปัจจุบันบริเวณดังกล่าวได้ถูกไถแปรเป็นนาข้าวไปหมดสิ้น ส่วนทางทิศใต้ของบ้านหนองขาวปัจจุบัน เดิมเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านดงรัง ยังคงปรากฏซากปรักหักพังของเจดีย์ อุโบสถ พระพุทธรูป กำแพงแก้ว และใบเสมา ปัจจุบันได้รับการบูรณะเป็นวัดขึ้นใหม่ชื่อว่า วัดใหญ่ดงรัง (วัดส้มใหญ่) ชามยาย บ้านยาย และหม้อยายบนหิ้งในห้องนอนชาวชุมชนบ้านหนองขาว แม้เรื่องเล่าการมีส่วนร่วมในสงครามครั้งนั้นจะมีโครงเรื่องคล้ายวีรกรรมของชาวบ้านบางระจัน และมีจุดจบแบบเดียวกัน ด้วยกำลังเพียงหยิบมือจึงไม่สามารถต้านกองทัพพม่าได้ ชาวบ้านจำนวนหนึ่งล้มตาย บางส่วนถูกกวาดต้อนเป็นเชลย ที่เหลือเล็ดลอดแตกฉานซ่านเซ็น บ้างหลบซ่อนตัวอยู่ตามป่าเขา และวัดวาอารามบ้านเรือนถูกเผาทำลาย ภายหลังเมื่อบ้านเมืองกลับเป็นปกติแล้ว ราษฎรทั้ง ๒ หมู่บ้านออกจากการซ่อนตัว ได้รวมกันตั้งหมู่บ้านขึ้นใหม่ใกล

การนับถือผีของคนภาคเหนือ

การนับถือผีของคนภาคเหนือ

การนับถือผีของคนภาคเหนือ การนับถือผีนั้น คงสืบเนื่องมาจากลัทธิบูชาบรรพบุรุษ  ซึ่งความเชื่อนี้เจริญเติบโตมากจากลัทธิที่เชื่อถืออำนาจเหนือธรรมชาติ ต้นกำเนิดของลัทธิประเพณีหลายๆอย่างและเป็นที่มาของศาสนาบางประเภทด้วย คติความเชื่อเกี่ยวกับผีเป็นความเชื่อของมนุษย์มาตั้งแต่สมัยโบราณ เป็นพัฒนาการของความเชื่อระดับหนึ่งของมนุษย์ที่เปลี่ยนแปลงไปตามโครงสร้างและสภาพของสังคม ในสังคมที่มีความก้าวหน้าทางวิทยาการและเทคโนโลยีมากขึ้นจะละทิ้งหรือลดหย่อนความเชื่อเกี่ยวกับผีลงไป จะหันมานับถือพระเจ้าซึ่งก็คือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มองไม่เห็นตัว มีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์เหนือมนุษย์เหนือธรรมชาติเหมือนผี แต่เรียกชื่อและมีพิธีกรรมที่แตกต่างกันไปเท่านั้น ไม่ได้มุ่งสนองความต้องการในชีวิตประจำวันเท่านั้น แต่จะพยายามแสวงหาคำตอบเกี่ยวกับชีวิตหลังความตาย เสนอความคิดความเชื่อเกี่ยวกับชาติหน้าที่เป็นเหตุเป็นผล มีหลักปรัชญาที่ซับซ้อนมากยิ่งขึ้น นับเป็นพัฒนาการความเชื่อระดับหนึ่งที่แสดงถึงภูมิปัญญาระดับสูงของมนุษย๋ ซึ่งนักมานุษยวิทยากำหนดให้ความเชื่อในลักษณะนี้เป็นศาสนาของสังคมสมัยประวัติศาสตร์ และให้การนับถือผีเป็นศาสนาในสมัยก

ปั้นเหน่ง

ปั้นเหน่ง

ปั้นเหน่ง เครื่องรางของขลังประเภทหนึ่งที่ทำมาจากกระดูกส่วนหน้าผากของศพมนุษย์ หรือ ส่วนกลางกะโหลกศีรษะ โดยปั้นเหน่งมีความหมายอีกนัยหนึ่งก็คือการย่อหัวกะโหลกทั้งหัวรวมไว้เพียงชิ้นเดียว เพื่อหวังว่าจะนำมาใช้ทางไสยศาสตร์ และสะดวกแก่การพกพาติดตัว โดยจะนำมาปลุกเสกและสะกดวิญญาณนั้น ผู้สร้างต้องมีวิชาอาคมที่แกร่งกล้ามากและปลุกเสกได้ถูกฤกษ์ยามตามตำรา เครื่องรางชนิดนี้ตามตำราจะต้องหากะโหลกหน้าผากจากศพอายุยังไม่มาก (ไม่แก่) แต่ที่ขลังจริง ๆ เฮี้ยนที่สุด ก็ต้องเป็นศพผีตายโหง หรือศพผีตายทั้งกลม ถือกันว่าเป็นวัตถุอาถรรพ์ติดวิญญาณที่มีผู้คนนิยมชมชอบมากเป็นวัตถุที่มากด้วยแรงอาถรรพณ์ ปั่นเหน่งแม่นาคพระโขนง ดังตามที่เรื่องราวตามตำนานรักที่ถูกเล่าขานของแม่นาคพระโขนง ที่ออกอาละวาดจึงทำให้สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสีทำการสะกดวิญญาณความเฮี้ยน โดยได้เจาะกะโหลกผีแม่นาคเอามาขัดเป็นมันลงอักขระอาคมและลงคาถาเฉพาะบททำเป็น ปั้นเหน่ง หัวเข็มขัดโบราณคาดเอวไว้เป็นเครื่องราง ก่อนที่จะนำไปเก็บรักษาไว้ที่วัดระฆังโฆสิตาราม ได้สะกดวิญญาณเอาไว้เพื่อไม่เป็นการให้โทษแก่ผู้ถือครอง ต่อมาปั้นเหน่งแม่นาคจะถูกเปลี่ยนมือไปอีก