เมืองลับแล”ชาวบังบด”
เมืองลับแล”ชาวบังบด” ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของเมืองลับแล มีหลักฐานบันทึกไว้มากมายหลายกระแส ปัจจุบันยังไม่สามารถชำระสะสางชี้ชัดลงไปได้ว่า หลักฐานใดคือความเป็นมาที่แท้จริงของเมืองนี้ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย เชื่อว่าบรรพบุรุษของชาวลับแล ตั้งแต่อดีตกาลน่าจะเป็นชาวเมืองแพร่ และชาวเมืองน่าน ที่หนีภัยสงคราม หรือหนีโรคระบาด จากหัวเมืองทางเหนือ มาตั้งชุมชนอยู่ในลับแล เนื่องจากเมื่อหลายร้อยปีก่อน ที่นี่เคยเป็นป่าดงดิบที่อุดมสมบูรณ์ มีเทือกเขาล้อมรอบ มีที่เนินเขาสลับกับที่ราบ คนที่ไม่คุ้นเคยกับภูมิประเทศ หากเข้ามามักจะหลงทางเสมอ ว่าเดิมชาวเมืองแพร่ เมืองน่าน หนีข้าศึกและความเดือดร้อนมาซุ่มซ่อนตั้งชุมชนอยู่บริเวณนี้ เนื่องจากเป็นที่ป่ารก หลบซ่อนตัวง่ายและ ภูมิประเทศเป็นเมืองอยู่ในหุบเขามีที่เนินสลับกับที่ต่ำ คนต่างเมืองถ้าไม่คุ้นเคยกับภูมิประเทศจะหลงทางได้ง่าย อำเภอลับแลนอกจากจะมีโบราณสถานที่น่าสนใจมากมายแล้ว ยังเป็นแหล่งผลิตสินค้าหัตถกรรมพื้นเมืองล้านนา เช่น ผ้าตีนจก ไม้กวาด เป็นแหล่งปลูกลางสาด และทุเรียนหลง-หลินลับแล ซึ่งเป็นผลไม้ที่มีชื่อเสียงของจัง
กําแพงหิน”Sacsayhuaman”
กําแพงหิน”Sacsayhuaman” หินขนาดยักษ์ของป้อมปราการบนยอดเนินใน Cusco เป็นเครื่องยืนยันได้อย่างดีถึงเทคนิคการก่อสร้างอันเฉลียวฉลาดของชาวอินคาสำรวจเข้าไปในอุทยานโบราณคดีซึ่งห่างออกมาจากใจกลางเมือง Cusco ไม่ไกล เพื่อชมซากปรักหักพังของกำแพงหิน Sacsayhuaman วัดและป้อมปราการหินขนาดใหญ่นี้ตั้งอยู่บนเนินเขาชันที่มองเห็นวิวทั่วตัวเมือง และแสดงถึงความเป็นเลิศทางวิศวกรรมของชาวอินคา มาที่นี่เพื่อสัมผัสพิธีกรรมอินคาดั้งเดิม และชื่นชมวิธีการก่อสร้างโครงสร้างนี้ สังเกตบล็อกหินปูนขนาดใหญ่ที่วางพอดีกันโดยไม่ต้องใช้ปูนในยุครุ่งเรือง Sacsayhuaman ประกอบด้วยอาคารและหอคอยหิน 3 หลังสำหรับทหารถึง 5,000 นาย หลังจากอาณาจักรอินคาล่มสลาย สถานที่แห่งนี้จึงถูกใช้เป็นที่ขุดหิน ปัจจุบันสิ่งที่หลงเหลือมีเพียงกำแพงรูปฟันปลาสามแถว เดินชมรอบๆ แล้วคุณจะต้องประทับใจกับหินขนาดใหญ่ยักษ์ที่พบในซากปรักหักพังอินคา หินบางก้อนสูงกว่า 3 เมตรและหนักกว่า 91,000 กิโลกรัม โดยหินที่ใหญ่ที่สุดสูงถึง 8.5 เมตรเลยทีเดียวสำรวจงานหินของชาวอินคา โดยเฉพาะความพอดีกันของบล็อกต่างๆ ที่อยู่ในรูปร่างแตกต่างกันออกไป สังเกตวงแหวนขนาดใหญ่
ดวงตาปีศาจ”Evil Eye”
ดวงตาปีศาจ”Evil Eye” “นัยน์ตาปีศาจ” ชื่อเรียกอาจดูกลัวแต่ก็เป็นเครื่องรางที่เชื่อว่าสามารถป้องกันภัยอำนาจมืดจากสิ่งชั่วร้ายในสิ่งที่มองไม่เห็น รวมความอิจฉาริษยา ความโลภ และดวงตานี้ก็ช่วยสะท้อนกลับไป ทำให้ผู้พกพาพบเจอแต่สิ่งดีๆ เรื่องดีๆ คือเครื่องรางที่เชื่อกันว่ามีคุณสมบัติในการตรวจจับและปกป้องคุ้มครองผู้ครอบครองให้รอดพ้นจากผู้คิดร้าย อำนาจมืด และสิ่งชั่วร้ายนานาประการ เครื่องรางรูปร่างคล้ายดวงตานี้จัดเป็นสัญลักษณ์เก่าแก่ชนิดหนึ่งที่เดินทางผ่านกาลเวลามาหลายพันปี ชาวไอยคุปต์โบราณเชื่อว่าสัญลักษณ์รูปดวงตานั้นสื่อถึงดวงตาแห่งเทพฮอรัสหนึ่งในเทพเจ้าสำคัญของชาวอียิปต์ พวกเขาเชื่อว่าดวงตาแห่งเทพฮอรัสจะช่วยสอดส่องคุ้มกันภัยร้าย อีกทั้งยังเป็นสัญลักษณ์ของความรอบรู้อีกด้วย นอกจากนี้ มันยังมีความสัมพันธ์กับศรัทธาและความเชื่อต่างๆ ในหลายพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นอาณาจักรกรีกและโรมัน ไปจนถึงอาณาจักรไบเซนไทน์ และอาณาจักรออตโตมัน ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล (ปัจจุบันคือเมืองอิสตันบูล) เป็นต้น ในปัจจุบันประเทศตุรกีถือเป็นประเทศที่มีความเกี่ยวพันกับสัญลักษณ์ดวงตาปีศาจมากที่สุดปร