STORYREVIEW
ตำนาน เรื่องหลอน เรื่องลี้ลับ 2023

แพะหลวงพ่ออ่ำ

แพะหลวงพ่ออ่ำ

แพะหลวงพ่ออ่ำ ในบรรดาเครื่องรางของขลังงในประเภทสัตว์นั่นก็จะมีเครื่องราง แพะเขาควายเผือกแกะ ของ หลวงพ่ออ่ำ วัดหนองกระบอก อำเภอ บ้านค่าย จังหวัด ระยอง นับเป็นหนึ่งในเครื่องรางความนิยมสูงระดับต้น ๆ ที่หลายคนปราถนาครอบครอง หลวงพ่ออ่ำนั้น ท่านเป็นยอดพระอาจารย์ยุคเก่าแห่งภาคตะวันออก มีอายุในราวๆ 50 ปี ตั้งแต่ช่วงอายุประมาณปีพ.ศ.2431-2490 เครื่องรางแพะหลวงพ่ออ่ำ ท่านทำการสร้างจากเขาควายฟ้าผ่าตาย ซึ่งมีความเชื่อกันว่าเขาควายเผือกอันนั้นได้รับพลังจากเทพหรือรับพลังจากสวรรค์ แล้วนำมาแกะเป็นแพะ หลวงพ่ออ่ำทำการบรรจุวิชาอาคมเวทมนตร์คาถาที่ได้ศึกษาเล่าเรียนมา โดยวางไว้บนถาด บางทีก็แช่น้ำมันหอม น้ำมันว่านสมุนไพร น้ำมันจันทน์ ในการจะได้แพะแกะของหลวงพ่ออ่ำมาได้นั่นนั้น เมื่อท่านหลวงพ่ออ่ำจะทำการมอบให้ใครนั่น ท่านจะทำพิธีปลุกเสกด้วยตัวท่านเองอีกครั้ง จนปรากฏว่าแพะที่วางไว้บนถาดหรือแช่ไว้ในน้ำมันนั้นเคลื่อนไหวเสมือนมีชีวิตจริง ท่านจึงจะหยิบขึ้นมาจากโหลหรือขวดแก้ว แจกกับบุคคลนั้น ๆ ที่ท่านต้องการจะมอบให้ ความเชื่อ สำหรับคุณวิเศษ หรือ สรรพคุณของแพะหลวงพ่ออ่ำ ว่ากันว่าแพะตัวผู้หนึ่งตัว สามารถดูแลปกครองแพะต

เบี้ยแก้หลวงพ่อนุ่มวัดนางใน

เบี้ยแก้หลวงพ่อนุ่มวัดนางใน

เบี้ยแก้หลวงพ่อนุ่มวัดนางใน เบี้ยแก้หลวงพ่อนุ่ม วัดนางใน – สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึงเรื่องเบี้ยแก้ของหลวงพ่อนุ่ม วัดนางในธัมมิการาม อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง ครับ ซึ่งหลวงพ่อนุ่มเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังของจังหวัดอ่างทองเช่นกันครับ พระอุปัชฌาย์นุ่ม ธมฺมาราโม ท่านได้เกิดเมื่อวันที่ 15 เดือน สิงหาคม พุทธศักราช 2426 อ่อนกว่าหลวงพ่อพัก 1 ปี โยมบิดาของท่านชื่อสอน โยมมารดาชื่อแจ่ม นามสกุลศรแก้วดารา หลวงพ่อนุ่มเกิดที่บ้านสามจุ่น ตำบลวังน้ำชัย อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี ตอนที่ท่านอายุได้ 10 ขวบได้ศึกษาภาษาไทยและภาษาขอมกับพระอธิการพ่วง ผู้เป็นพระพี่ชายที่วัดสามจุ่น ซึ่งอยู่ใกล้บ้านของท่าน และเมื่ออายุท่านครบ 20 ปี จึงได้อุปสมบทที่วัดปลายนา ตำบลปลายนา อำเภอศรีประจันต์ สุพรรณบุรี เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2446 โดยมีพระครูธรรมสารรักษา (อ้น) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระปลัดดี วัดปู่เจ้า เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการช้าง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ และจำพรรษาอยู่ที่วัดสามจุ่น ศึกษาพระธรรมวินัยและพระปริยัติธรรม พรรษาที่ 8 ท่านได้ย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่วัดหลวง

หนุมานหลวงพ่อสุ่น วัดศาลากุน

หนุมานหลวงพ่อสุ่น วัดศาลากุน

หนุมานหลวงพ่อสุ่น วัดศาลากุน หลวงพ่อสุ่น วัดศาลากุน พระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งจังหวัดนนทบุรี ซึ่งน้อยคนนักที่จะไม่รู้จักท่าน โดยเฉพาะยิ่งเป็นนักนิยมสะสมพระเครื่อง เหรียญคณาจารย์ และเครื่องรางรุ่นเก่าๆ เหตุเพราะหลวงพ่อสุ่น ถือได้ว่าเป็นต้นตำนานการสร้าง “หนุมาน” ที่ทรงไว้ซึ่งความศักดิ์สิทธิ์ มีอานุภาพคุ้มครองป้องกันภัย เมตตามหานิยม ปรากฎเเก่ผู้ที่ครอบครองบูชา และ “หนุมานแกะหลวงพ่อสุ่น วัดศาลากุน” นั้น นับเป็นเครื่องรางของขลังที่ได้รับการยอมรับและเป็นที่นิยมสะสมไม่แพ้มีดหมอหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ และเขี้ยวเสือหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย ซึ่งเป็นที่เลื่องลือและได้รับความนิยมอย่างสูงในวงการทีเดียวหลวงพ่อสุ่น จันทโชติ หลวงพ่อสุ่น จันทโชติ หลวงพ่อสุ่น จันทโชติ หรือ พระอธิการสุ่น เป็นชาวนนทบุรีโดยกำเนิด เกิดไม่ไกลจากวัดศาลากุนนัก แต่ไม่ได้มีการบันทึกประวัติของท่านเก็บไว้ ทราบเพียงเมื่ออุปสมบทแล้วท่านก็จำพรรษาอยู่ที่วัดศาลากุน และด้วยศีลาจารวัตรของท่านทำให้เป็นที่เคารพศรัทธาของชาวบ้านมาตั้งแต่พรรษาต้นๆ ที่ยังเป็นพระลูกวัดอยู่ ดังนั้น เมื่อเจ้าอาวาสมรณภาพลง ชาวบ้านจึงนิมนต์ให้ท่านรับตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบ