ครอปเซอร์เคิล
ครอปเซอร์เคิล Crop Circle ครอปเซอร์เคิล (crop circle) หรือ เรียกว่า วงธัญพืช หรือ อีกหนึ่งชื่อคือ วงข้าวโพดล้ม เป็นคำที่ใช้อธิบายถึงรูปแบบของพืชที่ได้ล้มลง ซึ่งเริ่มต้นจากต้นข้าวโพด โดยคำนี้รวมถึง ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ ถั่วเหลือง วงธัญพืชล้มนี้พบได้หลายแห่งทั่วโลก ประวัติของครอปเซอร์เคิล Crop Circle กลางดึกคืนหนึ่งในปีคริสศักราช 1972 ณ ประเทศอังกฤษ นาย อาเทอร์ ชัตเติลวูด (Arthur Shuttlewood) กับ นาย บริซ บอนด์ (Bryce Bond) ได้ซ่อนตัวอยู่ที่บริเวณเนินเขาสตาร์ฮิล ใกล้เวสมินเตอร์ เพื่อทำการเฝ้าดูปรากฏการณ์แสงประหลาด ซึ่งเกิดขึ้นในบริเวณแถวนั้นมานานเกือบทศวรรษมาแล้ว ซึ่งเชื่อกันว่ามันคือยูเอฟโอ คืนนั้นทั้งสองผิดหวังเมื่อไม่พบแสงประหลาด แต่ได้รับการชดเชยด้วยร่องรอยบางอย่างที่อาจเกี่ยวข้องกัน นั่นคือ พืชที่ล้มเป็นวงกลม ซึ่งต่อมาเรียกกันว่า Crop Circles สี่ปีต่อมาในเดือนกันยายน 1976 เอดวิน เฟอร์(Edwin Fuhr) ชาวนาแห่งแลงเกนเบิร์ก(Langenburg) อ้างว่า เห็นยานรูปโดมสีเงินหลายลำ บินอยู่เหนือทุ่งนาหลังจากที่ยานเหล่านี้จากไปแล้ว เขาก็พบครอปเซอร์เคิลหลายแห่งในบริเวณนั้น นี่คือเรื่องราวแรกเริ่มของปรา
ตำนานโมอาย
ตำนานโมอาย จุดเริ่มต้นของตำนานโมอาย โมอายนี้เป้นรูปปั้นอยู่บนเกาะอีสเตอร์นี่แหละ ซึ่งเป็นเกาะโดดเดี่ยวกลางมหาสมุทรแปซิฟิก มีพื้นที่ประมาณ 160 ตารางกิโลเมตร ซึ่งชื่อของเกาะอีสเตอร์นี้มาจากการที่นักสำรวจคนแรกที่ค้นพบเกาะนี้เขาเดินทางมาในวันอีสเตอร์ในปี คริสศักราช 1722 ทำให้เขาได้ตั้งชื่อเกาะแห่งนี้ว่า เกาะอีสเตอร์ นั่นเอง มีตำนานเล่าขานกันว่า โมอายบนเกาะนี้เนี่ยเกิดจากการที่ชนพื้นเมืองที่อาศัยอยู่บนเกาะนั้นได้สร้างรูปปั้นหินขึ้นมา ซึ่งก็คือโมอายนี่เอง และเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่บนเกาะแห่งนี้จนหมดสิ้น ทำให้ผู้คนอดอยาก จนแทบจะเกิดการสูญสิ้นเผาพันธุ์ของคนบนเกาะเลยทีเดียว ซึ่งจากตำนานเนี่ยเขายังบอกอีกด้วยว่ารูปปั้นนี้ถูกสร้างขึ้นเมื่อ 1,000 กว่าปีก่อน เพื่อใช้เป็นตัวแทนของบรรพุบุรษที่ล่วงลับไป ทำให้บนเกาะอีสเตอร์นี้มีรูปปั้นโมอายมากกว่า 900 ตัว ทั้งเล็ก ทั้งใหญ่ หนัก 82 ตันก็มี และตัวที่ยังสร้างไม่เสร็จนี่มีขนาดตัวถึง 21 เมตร หนัก 270 ตันกันเลยทีเดียว เป็นคำถามที่คาใจคนสมัยก่อนยาวจนถึงสมัยนี้เลยล่ะ เพราะดูจากวิทยาการในยุคนั้นแล้วแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่มนุษย์เราจะเคลื่อนย้ายหินหนักขนาดนี
เปิดปริศนาสโตนเฮนจ์
เปิดปริศนาสโตนเฮนจ์ สโตนเฮนจ์ ตั้งอยู่ที่กลาง ทุ่งราบซัลลิสเบอร์รี Salisbury Plain บริเวณตอนใต้ของประเทศอังกฤษซึ่งตั้งอยุ่บนเกาะ เราจะสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน เพราะ บริเวณโดยรอบนั้น เป็นที่โล่งไม่มีสิ่งปลูกสร้างใดๆเลย โดยมีแท่งหินทั้งหมดจำนวน 112 ก้อน ตั้งเรียงกันเป็นวงกลมซ้อนกันถึง 3 วง เลยทีเดียว และ วางเรียงในลักษณะที่ต่างกัน ทั้งวางนอน วางพาดกัน และวางตั้งขึ้น นักวิทยาศาสตร์ได้คำนวณอายุของหินกลุ่มนี้ พบว่าน่าจะถูกสร้างขึ้นมาเมื่อประมาณ 3,000–2,000 ปีก่อนคริสตกาลนู่นเลย สรุปคืออายุกว่า 5,000 ปีแล้ว การก่อสร้างสโตนเฮนจ์ใช้เวลาสร้างต่อเนื่องกันมาถึง 3-4 ระยะในช่วงเวลาประมาณ 1,500 ปี คำนวนจากการที่หินแต่ละก้อน แต่ละชั้นมีอายุไม่เท่ากัน มาจากต่างยุคกัน ตั้งแต่ยุคหินตอนปลายจนถึงยุคสำริดตอนต้น สิ่งที่น่าแปลกใจและเป็นที่สงสัยกันก็คือ บริเวณที่ราบโดยไม่มีสิ่งของใดๆอยู่เลยดังกล่าวไม่มีก้อนหินขนาดมหึมานี้อยู่เลย ที่น่าจะเป็นไปได้มากที่สุดคือมาจาก “ทุ่งมาร์ลโบโร” (Marlborough Downs) ที่อยู่ไกลออกไปถึง 40 กิโลเมตรเลยทีเดียว และ ยังมีหินสีน้ำเงินหนักสี่ตัน ซึ่งพบได้ที่บริเวณภูเขาพรีเซลีทางตะ