ตำนานนายขนมต้ม นักรบ แห่ง กรุงศรี
นายขนมต้ม กลายเป็นเรื่องให้คนในวงการมวยไทยและคนไทยต้องเดือด หลังมีโพสต์บนโซเชียลของนายเดฟ เลดัก แชมป์มวยเมียนมาชาวแคนาดา ดูหมิ่นเหยียดหยามมวยไทยและประวัติศาสตร์มวยไทย รวมถึงแสดงความคิดเห็นหยาบคายดูถูกนายขนมต้มว่าเป็นเพียงเรื่องแต่งขึ้น ด่าว่าเป็นลูกโสเภณี ก่อนที่กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ออกโรงประกาศไม่เห็นด้วยกับนักมวยแคนาดา จี้ให้ขอโทษและประสานกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ให้มีมาตรการลงโทษกำปั้นชาวแคนาดารายนี้ ปัจจุบัน วธ. โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) ได้ขึ้นทะเบียนมวยไทยเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติตั้งแต่ปี พ.ศ.2553 นายขนมต้ม กรณีนี้ สมาพันธ์มวยพม่าออกแถลงการณ์ถึงคนมวยในไทยและทั่วโลก ระบุไม่เกี่ยวข้องกับข้อความที่เดฟ เลดัก ได้โพสต์ไว้ อีกทั้งยืนยันวงการมวยทั้งสองประเทศมีความสัมพันธ์และประวัติศาสตร์ยาวนานร่วมกัน โดย มวย เป็นมรดกร่วมทางวัฒนธรรมของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไม่ใช่มีเฉพาะไทย แต่เพื่อนบ้านอย่างลาว เมียนมา และกัมพูชาก็มีประวัติมายาวนาน อาจมีชื่อเรียกมวยที่แตกต่างกัน นายขนมต้ม สำหรับ “มวยไทย” เป็นศิลปะกา
ตำนานเรื่องยายสปีด สงขลา หาดใหญ่
ยายสปีด คือ ตำนานผีคลานไล่มอไซค์ที่หาดใหญ่และเป็นเรื่องเล่าสยองขวัญสุดน่ากลัวใน The Shock กลายเป็นกระแสแชร์บนโลกออนไลน์ เมื่อมีการปล่อยภาพโปสเตอร์และทีเซอร์ของภาพยนตร์เรื่อง ยายสปีด วางกำหนดฉายปี 2563 ซึ่งได้หยิบเรื่องเล่าในรายการวิทยุจากรายการสด The Shock มาดัดแปลงสร้างเป็นภาพยนตร์อีกด้วย แต่ก่อนที่เราจะไปสยองกัน วันนี้เราขอพาทุกคนย้อนไปฟังเรื่องเล่าของยายสปีด ยายสปีด เป็นเรื่องเล่าที่อ้างว่าเหตุการณ์สยองขวัญนี้เกิดขึ้นที่ ถนนสายหนึ่งใกล้ มหาวิทยาลัย.หาดใหญ่ ลักษณะของยายสปีดเป็นวิญญาณผีแม่ชีเฮี้ยน บ้างก็ว่าเป็นยายแก่ที่ตัวขาดครึ่งท่อน ผมสีขาว นุ่งขาวห่มขาวกับความสยองอยู่ที่ยายจะใช้มือสองข้างคลานไวๆและไล่รถที่ผ่านไปผ่านมาแถวนั้นด้วยความรวดเร็วโดยเรื่องเล่าเผยว่ายายสปีดเสียชีวิตจากการโดนเด็กคนนึงแว๊นซ์ซิ่งรถชนขาดครึ่งท่อน จนกลายเป็นความเฮี้ยนที่ร่ำลือกันเยอะในระแวกนั้น โดยวิญญาณของยายสปีดมักจะหลอกหลอนคนที่ขับมอเตอร์ไซค์ผ่านไปผ่านมาแถวนั้น ทั้งนี้บนโลกออนไลน์ได้มีการเผยอีกมุมว่า เรื่องเล่าของยายสปีด มีการดัดแปลงมาจากเรื่องราวมาจากฝั่งญี่ปุ่นด้วย ซอยที่ชาวหาดใหญ่พูดติดปากกันว่า ซอยคุณยาย
แวมไพร์ ดูดเลือด ผีดิบ
แวมไพร์ ตัวแรกที่ได้รับเกียรติบันทึกว่าเป็นของจริงและถูกยกให้อยู่ในประวัติศาสตร์โลกเกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 17 โดยอ้างอิงถึงชื่อของ “ปีเตอร์ โพลโคโจวิทซ์” (Peter Plogojowitz)ชายหนุ่มซึ่งเสียชีวิตในสงครามระหว่างเซอร์เบอร์-โรมาเนียกับจักรวรรดิออสเตรียในปี คศ 1725 ซึ่งศพของเขาก็ถูกฝังอยู่แถวๆ ที่เกิดเหตุนั่นเอง แต่เรื่องประหลาดก็เกิดขึ้นเพราะ ใน 3 เดือนถัดมาปีเตอร์กลับไปปราฏตัวอยู่ที่หมู่บ้าน คิซิโลว่า (Kisilova) ในเขต ราห์ม ( Rahm District ) บ้านเกิดของเขาเองซึ่งปัจจุบันอยู่ในเขตประเทศเซอร์เบีย แต่เรื่องมันคงไม่น่าประหลาดอะไรเท่ากับว่า หลังจากที่ปีเตอร์กลับมาถึงหมู่บ้านของเขา ก็เกิดเหตุที่ทำให้คนในหมู่บ้านไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือคนแก่ต้องเสียชีวิตลงไปถึง 9 คน ภายในสัปดาห์เดียว อาการที่คนทั้ง 9 เสียชีวิตนั้น เหมือนกันก็คือ ค่อยๆ หมดแรง หน้าไร้สี เหมือนเลือดถูกดูดออกจากตัว มีอาการเป็นไข้ตัวร้อนจัด สีผมเปลี่ยนราวกับแก่ลงชั่วข้ามคืน และทุกคนได้พูดก่อนที่จะตายว่า ระหว่างเคลิ้มๆ เขาเห็น ปีเตอร์ โพลโคโจวิทซ์ แอบเข้ามาในห้อง โดยนายศพเดินได้เข้ามานอนทับตัวแล้วบีบที่ลำคอของพวกเขาจนกระดุกกระดิกไม่ได้
ตำนาน ผีตาโขน
ผีตาโขน เป็นเทศกาลที่จัดขึ้นในอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ซึ่งตั้งอยู่ทางภาคอีสาน ของประเทศไทย เป็นเทศกาลที่เกิดขึ้นในเดือน 7 ซึ่งมักจัดมากกว่าสามวันในบางช่วงระหว่างเดือนมีนาคม และกรกฎาคม โดยจัดขึ้นในวันที่ได้รับเลือกให้จัดขึ้นในแต่ละปีโดยคนทรงประจำเมือง ซึ่งงานบุญประเพณีพื้นบ้านนี้มีชื่อเรียกว่า บุญหลวง โดยแบ่งออกเป็นเทศกาล ผีตาโขน, ประเพณีบุญบั้งไฟ และงานบุญหลวง (หรือ บุญผะเหวด) ผีตาโขน นั้น เดิมมีชื่อเรียกว่า ผีตามคน เป็นเทศกาลที่ได้รับอิทธิพลมาจากมหาเวสสันดรชาดก ชาดกในทางพระพุทธศาสนา ที่ว่าถึงพระเวสสันดร และพระนางมัทรี จะเดินทางออกจากป่ากลับสู่เมืองหลวง บรรดาสัตว์ป่ารวมถึงภูติผีที่อาศัยอยู่ในป่านั้น ได้ออกมาส่งเสด็จด้วยอาลัย ซึ่งวันแรกจะเป็นเทศกาลผีตาโขน ซึ่งเรียกวันนี้ว่า วันรวม (วันโฮม) โดยจะมีพิธีเบิก พระอุปคุตต์ ในบริเวณระหว่างลำน้ำหมันกับลำน้ำศอก ส่วนวันที่สองของเทศกาลดังกล่าวจะมีพิธีจุดบั้งไฟบูชา พร้อมด้วยเครื่องแต่งกายที่หลากหลาย รวมถึงการแข่งขันเต้นรำตลอดจนขบวนพาเหรด ส่วนในวันที่สามและวันสุดท้ายจะมีการให้ชาวบ้านฟังเทศน์ นอกจากนี้ ผีตาโขนยังได้รับการนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ และฉาย