STORYREVIEW
ตำนาน เรื่องหลอน เรื่องลี้ลับ 2023

พิธีกรรมศักสิทธิ์เต้านางด้ง

พิธีกรรมศักสิทธิ์เต้านางด้ง

พิธีกรรมนี้คนที่ไม่เข้าใจความเชื่อและความหมายก็หาว่างมงาย แต่พิธีกรรมนี้สำหรับบางคนคือกิจกรรมเพื่อจรรโลงใจ หล่อเลี้ยงความหวังในวิกฤตภัยแล้งช่วงเพาะปลูก วิธีนี้ไม่ใช่การต่อสู้หรือฝืนธรรมชาติ แต่เป็นการอ้อนวอน ขอร้องต่อธรรมชาติ ซึ่งเป็นการอยู่ร่วมกับธรรมชาตินั่นเอง

พิธีกรรมศักสิทธิ์เต้านางด้ง

เป็นหนึ่งในหลายพิธีกรรมที่ใช้ประกอบการอ้อนวอนขอฝน พบเห็นทั่วไปในภาคอีสาน 

คำว่า “นางด้ง”

หมายถึง ผีผู้หญิงที่สถิตใน “กระด้ง”  นัยยะของการเลือกใช้อุปกรณ์นี้เพราะ กระด้ง เ การประกอบพิธีมีนัยยะถึงการมีข้าวในการบริโภค การฝัดข้าวเปลือก มีความหมายคล้ายกับการแยกความไม่ดีให้ออกไปจากชุมชนประเพณีการเต้านางด้ง จะใช้ไม้คาน 2 แท่งนำมาขัดกัน แล้วมัดตรงกลาง ไม้คานทั้งสองจะแบ่งเป็นไม้สำหรับฤดูแล้ง เรียกว่าหลักแล้ง และไม้สำหรับฤดูฝน เรียกว่าหลักฝน คนจับจะเป็นผู้หญิง 2 คน คนหนึ่งเป็นพี่สาวคนโต หรือน้องสาวคนสุดท้อง อีกคนหนึ่งเป็นผู้หญิงที่เคยแต่งงานและมีลูก เรียกว่าแม่ฮ้าง หรือแม่หม้าย เหตุผลที่ใช้ “ไม้คาน” เพราะเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในกระบวนขนย้ายข้าว เช่น การหาบข้าว หาบต้นกล้า นัยยะสำคัญของอุปกรณ์ชิ้นนี้ คือ ความอุดมสมบูรณ์ของข้าวที่จะได้กินในแต่ละปี หากไม้คานไม่ได้หาบข้าวเสียแล้วชาวบ้านก็ต้องอดตาย

นัยยะทางภาษาที่ปรากฏในคำกล่าวของพิธีเต้านางด้ง เชื่อมโยงความคิดและโลกทัศน์เกี่ยวกับความคิดเรื่อง “แถน”เช่น ข้อความว่า พาสาวหลงเข้าดงกำแมด ข้อความนี้ชี้ให้เห็นพลังของแม่ รวมถึงอิทธิพลของหญิงเป็นใหญ่ในวัฒนธรรมแถน ซึ่งสาวที่พลัดหลงเข้าไปในดงกำแมด  ที่มีความสัมพันธ์กับแสงแดดและความแห้งแล้ง เพราะไม้กะแมดมีความทนทานต่อความแห้งแล้ง  

ส่วนข้อความว่า มากำฮนนำแม่เขียดไต้ ชี้ให้เห็นถึงความกังวลของคนเซิ้ง พรรณนาเชิงที่ว่าความกังวล  กับเขียดไต้จะไม่มีในท้องไร่ท้องนาเพราะตายหมด ซึ่งเขียดที่อาศัยอยู่ในโลกแห่งนี้ จึงต้องต่อรองกับพระยาแถนเหมือนในนิทาน “พญาคันคาก” โลกทัศน์ดังกล่าว ชี้ให้เห็นการต่อรองและขอร้องให้ฝนตกตามฤดูกาล นอกจากจะกล่าวถึงเขียดที่อาศัยในโลกมนุษย์แล้ว ยังกล่าวถึงบรรดาเขียดบริวารอีกด้วย เช่น เขียดเหลือง เขียดจ่อง เขียดจ่านา และเขียดคันคาก มีความสำคัญในการต่อรองเรื่องฝนฟ้ากับพระยาแถน

พิธีกรรมศักสิทธิ์เต้านางด้ง

การเชิญผีที่สถิตอยู่ในเครื่องมือทำมาหากิน สัมพันธ์กับคติความเชื่อโดยทั่วไปของกลุ่มชาติพันธุ์ไทย การเคารพผีที่สถิตในอุปกรณ์ทำมาหากินต่างๆ ยังมีในกลุ่มไททรงดำ ที่ยังเคารพผีบ้านผีเรือน และการเล่นเต้านางด้งในภาคอีสานนี้ยังสะท้อนความเชื่อเรื่องผีที่สถิตในกระด้งอีกด้วย ครกไม้บาก หาใช่ครกตำพริกแต่เป็นครกตำข้าวที่ชาวอีสานเรียกว่า ครกมอง สะท้อนให้เห็นการเลือกไม้ที่นำมาทำครกมอง ที่มีคุณสมบัติพิเศษ คือ เป็นโกนตรงกลางของต้นไม้เวลานำมาทำครกมอง จะเจาะรูตรงกลางได้ง่ายส่วน สากไม้แดง ก็หมายถึง สากครกมอง ที่ใช้ต่อจากตัวครกเป็นคันยาวใช้ในการตำ ไม้แดงมีคุณสมบัติพิเศษ คือ ปลวกไม่เจาะแข็งแรงทนทานรับแรงกระแทกได้ดี จึงนำมาใช้ทำสากครกมอง เห็นได้ว่า ภูมิปัญญาของคนอีสานสะท้อนผ่านตัวบทการเซิ้งนางด้ง ในการเลือกใช้วัสดุที่มีคุณภาพมากที่สุดในวัฒนธรรมข้าวต่อจากอุปกรณ์ในการตำข้าว แล้วขอเล่าถึงคุณสมบัติของ “กระด้ง” ด้งน้อยน้อยฮ่อนข้าวกินขาว ซึ่งเป็นกรรมวิธีหลังจากการตำข้าวในครกมอง โดยมีสาว ๆ มานั่งตำข้าว นัยของสาวตำข้าวนี้มีความหมายทั้งโดยตรงและโดยนัย โดยตรงเป็นกิจวัตรของลูกผู้หญิงในอดีตที่ต้องนั่งตำข้าว เพื่อใช้เป็นอาหารในครอบครัว โดยนัยนั้นเป็นการสะท้อนภาพหญิงผู้ให้กำเนิดข้าว หรือพระแม่โพสพ

ติดตามเรื่องราวตำนาน สิ่งลี้ลับ เรื่องเล่าชวนหลอน : รีวิวเรื่องตำนานสิ่งลี้ลับเรื่องผี

สามารถติดตามเรื่องราวในตำนาน สิ่งลี้ลับ เรื่องเล่าชวนหลอนได้เพิ่มเติมที่แฟนเพจของเรา : 10 เรื่องลี้ลับ