ผีเจียงชือ
เจียงชือ เป็นผีจำพวกแวมไพร์หรือซอมบี้ตามความเชื่อของจีน
เจียงชือ ปรากฏในวัฒนธรรมร่วมสมัยหลายยุคหลายสมัยมีทั้งการนำไปตีแผ่เป็น ภาพยนตร์ เช่น เรื่อง Mr.Vampire ผีกัดอย่ากัดตอบ ซึ่งมีถึง 5 ภาคเลยทีเดียว หรือ ในวิดีโอเกมต่าง ๆ เช่น Reigen Doushi เปา เปา โดยมักปรากฏในเครื่องแต่งกายชุดขุนนางยุคราชวงศ์ชิงหรือตัวละครในการ์ตูนญี่ปุ่นชุด Dragon Ball ชื่อ เจาสึ ก็ดัดแปลงมาจาก เจียงซือ
เจียงชือ เชื่อว่าเป็นแวมไพร์ที่อาศัยนอนหลับอยู่ในโลงศพหรือถ้ำในเวลากลางวัน และในเวลากลางคืนจะออกหากินด้วยการดูดเลือดของมนุษย์หรือสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ด้วยการกระโดด เจียงซือมีผิวที่ขาวซีดและมีขนยาว ซึ่งเกิดจากเชื้อรา ที่เจริญเติบโตบนร่างกาย แต่ถ้าเจียงชือกระโดดข้ามกระสอบข้าว จะก้มลงนับเมล็ดข้าวทุกเมล็ด ซึ่งวิธีป้องกันเจียงซือ บางครั้งจะใช้การโปรยเมล็ดพืชหรือข้าวไว้ตามทางเดินหรือหลังคาบ้าน เพื่อถ่วงเวลาให้เจียงซือนับเมล็ดข้าวจนถึงเช้า ซึ่งวิธีการเช่นนี้ก็เป็นวิธีเดียวกันกับการป้องกันแวมไพร์ของยุโรป
แท้จริงแล้ว เจียงชือ เป็นความเชื่อในทางไสยศาสตร์ของลัทธิเต๋าหรือเหมาซาน ชาวจีนมีความเชื่อว่า เมื่อมีผู้ตายลง ศพจะต้องถูกฝังในบ้านเกิด ในสมัยโบราณการคมนาคมเป็นไปอย่างลำบาก นักบวชในลัทธิเหมาซาน จึงทำพิธีปลุกศพให้ลุกขึ้นมากระโดดตามตัวเป็นขบวน โดยมีการการสั่นกระดิ่งเป็นเครื่องให้จังหวะ ซึ่งถือว่าเป็นพิธีลับห้ามให้ผู้คนทั่วไปเห็น ซึ่งวิธีการเช่นนี้เป็นที่นิยมกระทำในเขตปกครองตนเองชนชาติถูเจีย-ม้ง เซียงซี (อยู่ทางทิศตะวันตกของมณฑลหูหนาน) เรียกว่า 湘西趕屍 (พินอิน: Xiangxi ganshi, แปลว่า “การขนศพในเซียงซี”) ถือเป็นคำบอกเล่าหรือความเชื่อประการหนึ่งในท้องถิ่น ในหนังสือที่แต่งจากการคำบอกเล่านี้ ชื่อ The Corpse Walker ของเหลียว ยี่วู่ ระบุว่า พิธีนี้จะกระทำกัน 2 คน โดยผู้กระทำจะสวมเสื้อคลุมตัวใหญ่ที่คลุมตัวไว้ทั้งหมด และแต่งตัวศพด้วยชุดคลุมสีขาวและคลุมศีรษะด้วยผ้าคลุม พร้อมกับใช้โคมไฟเป็นเครื่องนำทาง ขณะที่ออกเดินจะร้องบอกเตือนอยู่เป็นระยะ ๆ ว่า ให้ระวังอุปสรรคต่าง ๆ ที่อยู่ข้างหน้า ซึ่งพิธีนี้จะกระทำกันในเวลากลางคืนเพื่อหลีกเลี่ยงการมีผู้พบเห็นและสภาพอากาศที่เย็นเหมาะกับการกระทำ ซึ่งศพของผู้ตายจะมองไม่เห็นผู้นำทางเนื่องจากถูกปิดบังไว้ด้วยเสื้อคลุม
อย่างไรก็ตาม มีผู้แย้งว่า แท้จริงแล้วเรื่องเจียงซือหรือพิธีขนศพนี้เป็นเพียงเรื่องแต่งขึ้นมาของขบวนการขนย้ายหรือลักลอบขโมยศพแบบผิดกฎหมาย ซึ่งเป็นไปได้ว่าการที่เห็นเป็นศพกระโดดเป็นขบวน คือ การที่มัดศพกับท่อนไม้ไผ่ต่อ ๆ กัน หรือแบกขึ้นหลัง
นอกจากนี้แล้ว ในหมู่บ้านในชนบทที่ห่างไกลของอินโดนีเซีย มีประเพณีการฝังศพที่เชื่อว่า จะให้ผู้ตายเดินกลับมาฝังศพตัวเองในบ้านเกิด หากเป็นกรณีที่ผู้ตาย เสียชีวิตในที่ห่างไกลจากบ้านเกิด จะทำการฝังไปก่อน เมื่อผ่านไปหลายปี ญาติ ๆ จะขุดศพขึ้นมาแต่งตัวให้เหมือนยังมีชีวิตอยู่ ไม่มีการคลุมหน้าศพ และทำพิธีปลุกให้ศพเดินกลับบ้านเอง โดยเลือกเส้นทางที่เงียบที่สุด มีข้อห้าม คือ ห้ามแห่หรืออุ้มศพเป็นอันขาด หากใครไม่ปฏิบัติตามก็จะเจ็บป่วยโดยไม่ทราบสาเหตุ อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ทำพิธีกรรมนี้ บอกว่าแท้จริงแล้ว ก็เป็นญาติของผู้ตายนั้นเป็นผู้อุ้มศพเอง
เจียงชื่อ สัมภเวสีคืนชีพ
แต่ผีดิบในภาพยนตร์ ผีกัดอย่ากัดตอบ ที่ฉายในประเทศไทยกลับไม่ค่อยมีใครรู้จักในชื่อ เจียงซือ แต่มักเรียกว่า ผีกองกอย เนื่องจากการเคลื่อนไหวและเสียงพากย์ภาษาไทยในภาพยนตร์มักมีเสียง ก่อย ก่อย ในขณะที่ผีดิบกำลังกระโดด ทำให้เหมารวมเรียกผีประเภทนี้ว่า ผีกองกอย ซึ่งแท้จริงแล้วผีกองกอยเป็นผีป่าตามตำนานความเชื่อของไทย ลาว และรวมไปถึงมาเลเซีย มีลักษณะเป็นผีที่มีขาข้างเดียว เคลื่อนไหวด้วยการกระโดด ปรากฏในวรรณคดีหลายเรื่อง อาทิ พระอภัยมณี เพชรพระอุมา เป็นต้น
ตามความเชื่อ เจียงซือเป็นผีดิบที่อาศัยนอนหลับอยู่ในโลงศพหรือถ้ำในเวลากลางวัน และจะออกหากินด้วยการดูดเลือดของมนุษย์หรือสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในเวลากลางคืน เจียงซือมีผิวที่ขาวซีดและมีขนยาว ซึ่งเกิดจากเชื้อราที่เจริญเติบโตในร่างกาย แต่ถ้าเจียงซือกระโดดข้ามกระสอบข้าว จะก้มลงนับเมล็ดข้าวทุกเมล็ด วิธีป้องกันเจียงซือคือจะใช้การโปรยเมล็ดพืชหรือข้าวไว้ตามทางเดินหรือหลังคาบ้าน เพื่อถ่วงเวลาให้เจียงซือนับเมล็ดข้าวจนถึงเช้า
แต่จริง ๆ แล้วมีข้อสันนิฐานว่าเจียงซือมีที่มาจากการนำศพคนตายกลับบ้าน หรือที่เรียกกันว่า ส่งศพพันลี้ (千里行尸 เชียนหลี่สิงซือ) เกิดจากกรณีที่มีคนตายในต่างถิ่น แล้วญาติของผู้ตายที่ไม่มีเงินค่ายานพาหนะพอที่จะไปรับศพกลับมาทำพิธีที่บ้านได้ก็จะจ้างนักพรตไปนำศพคนตายกลับมา โดยจะนำทางมาในเวลากลางคืน แล้วนักพรตก็จะมีกระดิ่งไว้สั่น เพื่อให้คนที่ได้ยินรู้ว่ากำลังมีพิธีนี้อยู่แถว ๆ นั้น เพราะพิธีนี้ถือเป็นลางร้ายสำหรับผู้พบเห็น พิธีนี้อาจเรียกอีกแบบว่า ขนศพในเซียงซี (湘西趕尸 เซียงซีก่านซือ) เพราะถือว่าเป็นพิธีที่นิยมกันในเมืองเซียงซีที่ผู้คนมักจะออกไปทำงานต่างถิ่นแล้วเสียชีวิตลง จึงต้องมีการว่าจ้างขนศพกลับมายังบ้านเกิด ศพที่ขนกลับมามักจัดให้อยู่ในท่ายืน โดยสอดด้วยลำไม้ไผ่ใต้รักแร้พร้อมผูกแขนทั้ง 2 ข้างของศพไว้กับไม้ไผ่ และใช้คนแบกปลายลำไม้ไผ่ด้านหน้าและด้านหลังฝั่งละ 1 คน ซึ่งบางครั้งอาจต้องขนศพถึง 2-3 ศพในครั้งเดียว ทำให้เมื่อผู้คนทั่วไปพบเห็นการขนศพดังกล่าวทำให้เข้าใจผิดและเกิดเป็นความเชื่อเรื่องเจียงซือขึ้นนั่นเอง