STORYREVIEW
STORYREVIEW
ตำนาน เรื่องหลอน เรื่องลี้ลับ 2023

สิ่งมหัศจรรย์เปตรา Petra

สิ่งมหัศจรรย์เปตรา

เปตรา (ภาษาอังกฤษ : Petra, จาก ภาษากรีก πέτρα แปลว่าหิน ; อาหรับ: البتراء) คือ นครหินที่แกะสลักโบราณที่ซ่อนตัวอย่างลึกลับในหุบเขาวาดี มูซา หุบเขาที่ตั้งอยู่ระหว่างทะเลเดดซีกับอ่าวอะกาบาในประเทศจอร์แดน นครนี้แต่เดิมนั้นเป็นนครแห่งการค้าขนาดใหญ่ซึ่งต่อมาถูกละทิ้งเป็นเวลานานกว่า 700 ปี จนเมื่อโยฮัน ลูทวิช บวร์คฮาร์ท นักสำรวจชาวสวิส เดินทางผ่านมาพบเห็นเข้าเมื่อปีพุทธศักราช 2355 (คริสศักราช 1812)

สิ่งมหัศจรรย์เปตรา

  นครเปตราได้รับการขึ้นลงทะเบียนจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลกเมื่อปี พุทธศักราช 2528 โดยกล่าวอธิบายไว้ว่า “เป็นหนึ่งในสิ่งที่ล้ำค่ามากที่สุดของมรดกทางวัฒนธรรมแห่งมวลมนุษยชาติ” ในภาษาอังกฤษกล่าวไว้ว่า (one of the most precious cultural properties of man’s cultural heritage) ปัจจุบันสามารถเดินทางเข้าไปโดยอาศัยม้าเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

  เมื่อวันที่ 7 เดือน กรกฎาคม ปี พุทธศักราช 2550 นครเปตราได้รับคัดเลือกให้เป็น 1 ใน เจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคใหม่ของโลก จากการลงคะแนนทั่วโลกทั้งทางอินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์เคลื่อนที่

สิ่งมหัศจรรย์เปตรา

บันทึกประวัติ

คนกลุ่มแรกที่เดินทางไปยังเปตราคือชาวอีโดน ประมาณ 1,000 ปีก่อนคริสตกาล แต่ผู้สร้าง Petra คือชาว Nabataeans ในศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสต์ศักราช [2] ซึ่งแต่เดิมเป็นเพียงคนเร่ร่อนในทะเลทรายอาหรับ พวกเขาแกะสลักบ้านของพวกเขาจากหน้าผาหินทรายและอาศัยอยู่ในถ้ำทั่วเมือง พวกเขาเป็นคนเลี้ยงแกะมืออาชีพ แต่ผันตัวมาค้าขาย รับจ้างเป็น รปภ. เผ่านี้มีความซื่อสัตย์ ค่าผ่านทางที่เรียกเก็บจากผู้สัญจรผ่านไปมาช่วยให้ชาวนาบาเทียนมีชีวิตที่ดีขึ้น

  สาเหตุที่เปตราตั้งอยู่บนดินแดนอันแห้งแล้ง มีแต่หินกับทรายนั้นก็น่าจะเพราะเปตราตั้งอยู่เส้นทางการค้าสำคัญที่สุดของโลกในขณะนั้น 2 สาย ได้แก่เส้นทางสายสายตะวันออก – สายตะวันตก คาบสมุทรอาหรับกับอ่าวเปอร์เซียจนถึงทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และสายสายเหนือ – ใต้ ที่เชื่อมทะเลแดงกับ กรุงดามัสกัส ซีเรีย นอกจากนั้นเมืองนี้ยังมีแหล่งน้ำจืดสำคัญซึ่งต่อมาเรียกกันว่า วาดี มูซา หรือ หุบเขาโมเสส ซึ่งเล่ากันว่าเป็นน้ำที่ได้เมื่อโมเสสเสกออกมาเพื่อให้ชาวยิวได้กินแก้กระหาย เหล่าพ่อค้าหรือนักเดินทางที่เดินทางผ่านทะเลทรายอันว่างเปล่าและแห้งแล้งใกล้เคียงนั้นไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากมุ่งมาที่เมืองเปตราอย่างเดียว

  เปตราเป็นศูนย์กลางค้าขนาดใหญ่ จนทำให้นักเดินทางชาวกรีกมักนำเรื่องความมั่งคั่งมาเล่าให้ฟัง ตามบันทึกของสตราโบ นักภูมิศาสตร์ชาวกรีกได้อธิบายไว้ว่า เมืองเปตราเป็นตลาดซื้อสินค้าสำคัญที่สุดของโลกตะวันออก ยางไม้หอม กำยาน เครื่องเทศของชาวอาหรับ ทองแดง เหล็ก เครื่องปั้นดินเผา รูปปั้น ผ้าย้อมของชาวฟินิเซียนล้วนถูกลำเลียงผ่านเมืองเปตราไปสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และชาวเปอร์เซีย

วิหารใหญ่ในเมืองเปตรา

เปตราถึงจุดสูงสุดใน 50 ปีก่อนคริสตกาล จนถึงทศวรรษที่ 70 ในช่วงเวลานั้น Petra ถูกปกครองโดยกษัตริย์ชื่อ Aretas IV ซึ่งชาวกรีกเรียกว่า Philodemos ซึ่งแปลว่าความรักของประชาชน และความมั่งคั่งในฐานะหัวเมืองที่ห่างไกลและไม่สามารถพิชิตได้ ไชยบูลย์ จึงเปิดโอกาสให้เมืองพัฒนาได้โดยง่ายโดยไม่ต้องกังวลกับศัตรูต่างชาติ

สิ่งมหัศจรรย์เปตรา
สิ่งมหัศจรรย์เปตรา

ชาวเปตรานับถือเทพเจ้าสององค์คือ เทพดูซาเรส (Dushares) เทพแห่งความอุดมสมบูรณ์ และเทพอัลอัซซา (Al Uzza) ชายาของเทพดูซาเรส เทวีแห่งน้ำ

สิ่งมหัศจรรย์เปตรา

การล่มสลาย

ด้วยเหตุที่เกิดเมืองใหม่และเส้นทางค้าขายใหม่ที่ปลอดภัยและสะดวกกว่าในช่วงเวลาต่อมา เปตราที่เคยเจริญรุ่งเรืองด้วยการค้าก็เริ่มสูญเสียอำนาจลง เมืองอ่อนแอและถูกต่างชาติโจมตีเข้าได้ง่าย จนเมื่อถึงปี พ.ศ. 649 (ค.ศ. 106) พวกโรมันนำโดยจักรพรรดิทราจัน หรือ ไทรอะนุส(Traianus) ได้เข้ายึดครองเปตราและผนวกนครนี้เข้าเป็นจังหวัดในจักรวรรดิโรมัน แต่เปตราก็ยังคงดำรงอยู่เรื่อยมาจนถึงราวปี ค.ศ. 300 เมื่อจักรวรรดิโรมันเริ่มคลอนแคลน ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. 906 หรือ ในปีคริสศักราช 363 นั่นได้เกิดแผ่นดินไหวก็ได้ทำลายอาคารและระบบชลประทานที่ถือว่าดีมากของเมืองลงในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 5 เปตรากลายเป็นที่ตั้งคริสต์ศาสนามณฑลของบิชอป แล้วถูกมุสลิมยึดในคริสต์ศตวรรษที่ 7 แล้วก็เสื่อมถอยมาเรื่อย ๆ จนลบเลือนหายไปจากผู้คน



สิ่งมหัศจรรย์เปตรา

การค้นพบ

แม้ว่าซากปรักหักพังของ Petra จะเป็นที่อยากรู้อยากเห็นของผู้คนในยุคกลาง ตัวอย่างเช่นสุลต่าน Baibars ของอียิปต์เคยมาเยี่ยมชมที่นี่ในศตวรรษที่ 13 พ.ศ. 2355 (ค.ศ. 1812) เมื่อ Johann Ludwig Burckhardt นักสำรวจชาวสวิสเดินทางจากจอร์แดนไปยังอียิปต์เพื่อสำรวจแหล่งที่มาของแม่น้ำไนล์ Burhard เห็นส่วนหน้าของ Petra ขนาดมหึมา แต่ผู้นำท้องถิ่นห้ามไม่ให้เขาทำอะไรที่นั่น เบอร์ฮาร์ดแอบเขียนมันลงไปเมื่ออูฐเดินผ่าน แม้จะเป็นเพียงบันทึกคร่าว ๆ แต่ก็ถือได้ว่าเป็นการเปิดประตูเมืองนี้ ต่อมาในปี ค.ศ. 2369 (ค.ศ. 1826) Leon de Labourde ชาวฝรั่งเศสได้เดินทางสำรวจเมืองและเขียนหนังสือชื่อ Voyage de l’Arabie Pétrée แปลว่า “การเดินทางของชาวอาหรับสู่เปตรา” ในปี 1830 การเขียนหนังสือเล่มนี้ให้เครดิตกับการเปิดเผยภาพและความรู้ที่โลกไม่เคยเห็นมาก่อน

การสำรวจทางโบราณคดีนั่นได้เริ่มต้นขึ้นในช่วงต้นของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ซึ่งในปัจจุบันก็ยังคงดำเนินการสำรวจอยู่ และ ยังคงสำรวจกันต่อไป

การขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก

เปตราได้รับลงทะเบียนให้เป็นมรดกโลกในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 9 เมื่อปี พ.ศ. 2528 ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ด้วยข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณา ดังต่อไปนี้

I เปรียบเสมือน เป็นตัวแทนที่จะแสดงถึงผลงานชิ้นเอกที่ได้ถูกจัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันฉานฉลาด

IIII เปรียบเสมือน เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว

IV เปรียบเสมือน เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนาทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ

ติดตามเรื่องราวตำนาน สิ่งลี้ลับ เรื่องเล่าชวนหลอน : รีวิวเรื่องตำนานสิ่งลี้ลับเรื่องผี

สามารถติดตามเรื่องราวในตำนาน สิ่งลี้ลับ เรื่องเล่าชวนหลอนได้เพิ่มเติมที่แฟนเพจของเรา : Storyreview