STORYREVIEW
ตำนาน เรื่องหลอน เรื่องลี้ลับ 2023

ผีแม่ม่าย“นาเบลา”

ผีแม่ม่าย“นาเบลา”

หลายคนคงคุ้นเคยกับเรื่องราวของผีแม่ม่ายในวัยเยาว์ ตำนานสยองขวัญประจำถิ่นหลายพื้นที่ในประเทศไทย แต่ละปี ผู้ชายอายุตั้งแต่ 20 จนถึง 50 ปีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือต่างระวังตัวไม่ให้เป็นเหยื่อของวิญญาณหญิงม่ายมักมากในกามที่ตามหาผู้ชายในโลกคนเป็นเพื่อนำไปอยู่กินด้วย ผีแม่ม่ายชื่นชอบผู้ชายที่ยังไม่ได้แต่งงานเป็นพิเศษ และหากผู้ใดถูกวิญญาณสตรีเลือกแล้ว คนผู้นั้นจะถูกพบเป็นศพคาที่นอนในวันต่อมาโดยไม่มีแม้แต่บาดแผลใดๆผู้คนยังคงหวาดกลัวเรื่องเล่าที่สืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น และในแต่ละปีมักมีเหตุการณ์ที่ผู้ชายในหมู่บ้านที่แข็งแรงดีเสียชีวิตเป็นปริศนาติดๆ กัน เพื่อเป็นการป้องกันวิญญาณผีแม่ม่าย ผู้คนจะนำเอาปลัดขิกอันใหญ่ทาสีแดงวางไว้หน้าบ้านหรือตามถนนหนทางในหมู่บ้าน ไม่ก็นำหุ่นผู้ชายที่ทำขึ้นโดยแสดงอวัยวะเพศขนาดใหญ่เอาไว้ ชาวบ้านเชื่อว่าเมื่อวิญญาณผีแม่ม่ายเห็นปลัดขิกที่มีรูปทรงคล้ายอวัยวะเพศ นางจะคว้าสิ่งนี้แทนที่จะนำชีวิตของชายคนใดในหมู่บ้านไปกับตน บางพื้นที่ที่เชื่อว่าวิญญาณผีแม่ม่ายอาละวาดหนัก คนในครอบครัวจะนำเสื้อผ้าสตรีมาให้ผู้ชายในบ้านสวมใส่ ก่อนจะเขียนตัวอักษรหน้าบ้านไว้ว่า “บ้านนี้ไม่มีผู้ชาย”

ผีแม่ม่าย“นาเบลา”

ตำนานเกี่ยวกับดวงวิญญาณสตรี

ที่ตามหาชายหนุ่มมาสมสู่พบเห็นในหลายพื้นที่ในโลก ไม่ว่าจะเป็นเอเชียใต้ ยุโรปตะวันออก หรือแม้แต่แอฟริกาตะวันตก หนึ่งในตำนานที่มีชื่อเสียงและใกล้เคียงกับเรื่องราวผีแม่ม่ายในไทยมากที่สุดคือตำนานนาเล บา ทางตอนใต้ของรัฐกรณาฏกะประเทศอินเดีย นาเล บาเป็นคำภาษากันนฑะ มีความหมายว่า “มาพรุ่งนี้” หากผู้ใดมีโอกาสได้เดินทางไปตามหมู่บ้านระหว่างเมืองหลวงเบงกาลูรูถึงไมซอร์ เชื่อว่าหลายคนคงสังเกตเห็นข้อความที่เขียนบนบานประตูและกำแพงของบ้านต่างๆ ด้วยตัวอักษรกันนฑะ ข้อความที่ว่าไม่ได้เป็นสิ่งที่เจ้าของบ้านต้องการสื่อสารกับแขกผู้มาเยือนแต่อย่างใด แต่เป็นสารที่ชาวบ้านทิ้งไว้โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อลวงดวงวิญญาณ หรือแม้แต่วอนขอเทพีประจำถิ่นไม่ให้ย่างกรายเข้ามาบริเวณบ้านของตน

ชาวบ้านในกรณาฏกะใต้เชื่อว่า ตำนานนาเล บาเกี่ยวข้องกับดวงวิญญาณเจ้าสาวที่กำลังจะแต่งงาน แต่มีเหตุให้นางต้องพลัดพรากกับเจ้าบ่าวและเสียชีวิตก่อนจะได้ครองคู่ บ้างก็ว่านางเสียชีวิตหลังจากแต่งงานได้ไม่นาน ทำให้วิญญาณอันเปลี่ยวเหงาโหยหาชายหนุ่มที่จะกลายมาเป็นเจ้าบ่าวและสามีของนาง ดังนั้นวิญญาณสตรีจะล่องลอยไปตามบ้านต่างๆ ยามค่ำคืน นางจะเคาะประตูบ้านสามครั้ง หากชายใดเผลอขานรับ ชายผู้นั้นจะหายตัวไปอย่างลึกลับในคืนนั้น และไม่มีใครพบเห็นอีกเลย

ปกติแล้วในสังคมอินเดีย ผู้ชายคือเสาหลักของบ้าน เป็นผู้หารายได้มาจุนเจือครอบครัวแต่เพียงลำพัง ดังนั้นหากวิญญาณเจ้าสาวพาผู้ชายในบ้านนั้นไปแล้ว ทุกคนในครอบครัวจะเดือดร้อนกันทั้งหมด ชาวบ้านจึงคิดหาวิธีแก้ด้วยการเขียนตัวอักษรไว้บนประตูและผนังบ้าน พวกเขาเชื่อว่า หากวิญญาณเจ้าสาวได้เห็นข้อความให้มาพรุ่งนี้ นางจะกลับมาในวันรุ่งขึ้น และเมื่อได้เห็นข้อความอีกครั้ง นางก็จะกลับมาในวันมะรืน กลายเป็นวงจรเช่นนี้สืบไป

 ถูกนำมาทำเป็นภาพยนตร์สยองขวัญปนตลกภาษาฮินดีในปีค.ศ. 2018 นำแสดงโดยราชกุมาร ราว  ตอนนั้นเองที่ชาวบ้านท้องถิ่นต่างๆ ในอินเดียออกมาพูดว่า แท้จริงแล้วตำนานวิญญาณเจ้าสาวและหญิงม่ายที่ตามหาสามีมีให้เห็นหลายท้องที่ในอินเดีย ไม่ใช่แค่ในกรณาฏกะเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ตำนานนาเล บาในรัฐกรณาฏกะกลับมีความพิเศษกว่าเรื่องเล่าอื่นๆ เนื่องจากต้นกำเนิดตำนานดังกล่าวไม่ได้เกี่ยวข้องกับความตายของสตรีแต่อย่างใด ทว่าเกี่ยวกับความเชื่อแต่โบราณที่ถูกหลงลืมไปตามกาลเวลา ก่อนจะถูกนำไปผูกกับเรื่องสยองขวัญประจำถิ่นจนกลายเป็นตำนานเช่นนี้

  ในสมัยโบราณ โรคฝีดาษคร่าชีวิตผู้คนมากมายในแต่ละปี ผู้คนในอินเดียใต้จึงบูชาพระแม่มารี  ในภาษากันนฑะ มารีอัมมัน  ใน ปางหนึ่งของพระแม่ปารวตี มารีอัมมาเป็นเทพีแห่งโรคระบาด ไม่ว่าจะเป็นอหิวาตกโรค ฝีดาษ หรือแม้แต่อีสุกอีใส ผู้คนบูชาพระแม่เพื่อไม่ให้ตนเองและคนในครอบครัวติดโรคร้ายแรงเหล่านั้น ในกรณาฏกะใต้ การบูชามารีอัมมาที่ใหญ่ที่สุดจัดขึ้นในเดือนจิตติไร  ซึ่งถือเป็นเดือนแรกของปีตามปฏิทินทมิฬ หากเทียบกับปฏิทินสากลจะอยู่ในช่วงกลางเดือนมีนาคมไปจนถึงต้นเมษายน ในเดือนนี้เองที่ชาวกันนฑะฉลองเทศกาลปีใหม่ที่เรียกว่าอูกาดี

ผีแม่ม่าย“นาเบลา”
ผีแม่ม่าย“นาเบลา”

ปกติแล้วเทศกาลใหญ่ของชาวฮินดูอย่างมหาศิวราตรีและอูกาดีจะอยู่ห่างกันราวหนึ่งเดือน ช่วงเวลานี้เองที่พระแม่มารีจะเดินทางเยี่ยมเยียนผู้ศรัทธาตามบ้านต่างๆ ทว่าเนื่องจากเป็นเทพีแห่งโรคระบาด มารีอัมมาจึงไม่เป็นที่ต้อนรับเช่นเดียวกับการมาเยือนของเทพีลักษมีในเทศกาลทีปาวลี ชาวบ้านกรณาฏกะใต้หวาดกลัวการมาเยือนของมารีอัมมามาก พวกเขาเชื่อว่าพระแม่จะมาเคาะประตูเรียก และหากผู้ใดโดยเฉพาะเด็กๆ ขานรับ มารีอัมมาจะนำโรคภัยมาสู่คนผู้นั้นทันที ด้วยความหวาดกลัวนี้เอง สตรีในบ้านจึงเขียนข้อความบนพื้นหน้าบ้านใกล้กับลวดลายโกลัม  ที่วาดตกแต่งทุกเช้าว่า “มารีอัมมา นาเล บา โดยเชื่อว่าหากมารีอัมมาเห็นข้อความดังกล่าว พระแม่จะรู้สึกอับอายที่ไม่เป็นที่ต้อนรับ และจะกลับมาในวันรุ่งขึ้นเพื่ออ่านข้อความซ้ำ วนเวียนเป็นวัฏจักรไม่สิ้นสุด

อีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้มารีอัมมาเป็นที่เคารพบูชาในกรณาฏกะใต้จนกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของตำนานนาเล บาเนื่องจากพื้นที่กรณาฏกะใต้ตั้งแต่เบงกาลูรูไปจนถึงไมซอร์เกิดการระบาดอย่างหนักของโรคฝีดาษในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ที่คร่าชีวิตผู้คนเกินครึ่ง ในยุคที่การแพทย์สมัยใหม่ยังไม่มีประสิทธิภาพ และการรักษาแบบตะวันตกไม่ได้เข้าถึงชาวบ้านตามชนบท การบูชาเทพหรือเทพีที่ตนศรัทธาจึงเป็นทางออกเดียวของผู้คนที่สิ้นหวัง การบูชาเทพีแห่งโรคระบาดไม่ได้ปรากฏแค่ในกรณาฏกะหรืออินเดียใต้เท่านั้น ทว่าในอินเดียเหนือก็มีการบูชาปางหนึ่งของพระแม่ปารวตีที่เรียกว่าศีตลา  เช่นกัน แม้ว่าเทพีทั้งสององค์จะไม่ได้ถูกกล่าวถึงในพระเวท แต่ทั้งมารีอัมมาและศีตลามาตาก็มีบทบาทสำคัญในวิถีชีวิตชาวอินเดียตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

ไม่มีผู้ใดทราบแน่ชัดว่า การมาเยือนของมารีอัมมาและวิญญาณเจ้าสาวถูกหลอมรวมจนกลายเป็นเรื่องเดียวกันเมื่อใด ทว่าตำนานนาเล บาในกรณาฏกะใต้เพิ่งเป็นที่รู้จักในครึ่งหลังคริสต์ศตวรรษที่ 20 เท่านั้น แต่การเขียนอ้อนวอนเทพีให้กลับมาในวันรุ่งขึ้นมีมาก่อนหน้านั้นหลายศตวรรษ การมาเยือนของวิญญาณสตรีและเทพีมีหลายสิ่งที่คล้ายกัน เพียงแต่วิญญาณสตรีต้องการตัวชายหนุ่ม ในขณะที่มารีอัมมาสามารถแพร่โรคร้ายให้กับทุกคนในครอบครัวโดยเฉพาะเด็กๆ สันนิษฐานว่าการเสียชีวิตของเจ้าสาวเกิดขึ้นในชุมชนใดชุมชนหนึ่งในกรณาฏกะใต้ ทำให้ชาวบ้านที่หวาดกลัวแรงอาฆาตของวิญญาณใช้วิธีดั้งเดิมที่บรรพบุรุษเคยใช้ในการลวงมารีอัมมาเพื่อทำให้สมาชิกในบ้านทุกคนปลอดภัย จนในที่สุดก็กลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติทั่วไปตามหมู่บ้านในชนบทมาถึงปัจจุบัน

ผีแม่ม่าย“นาเบลา”
ผีแม่ม่าย“นาเบลา”

 ไม่ว่าตำนานนาเล บาหรือผีแม่ม่ายจะเป็นความจริงหรือไม่ แต่เรื่องราวทั้งสองต่างแสดงให้เห็นถึงขนบธรรมเนียมประเพณีของผู้คนในพื้นถิ่นนั้นๆ ชุมชนทุกแห่งในโลกต่างมีข้อปฏิบัติและความเชื่อแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับสภาพสังคมและชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านในพื้นที่ ทุกความเชื่อล้วนมีที่มาทั้งสิ้น ดังนั้นการทำความเข้าใจกับสิ่งที่ผู้คนศรัทธาจึงเป็นพื้นฐานในการเข้าถึงพวกเขา ซึ่งจะทำให้คนในสังคมพหุวัฒนธรรมของเราอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข

ติดตามเรื่องราวตำนาน สิ่งลี้ลับ เรื่องเล่าชวนหลอน : รีวิวเรื่องตำนานสิ่งลี้ลับเรื่องผี

สามารถติดตามเรื่องราวในตำนาน สิ่งลี้ลับ เรื่องเล่าชวนหลอนได้เพิ่มเติมที่แฟนเพจของเรา : 10 เรื่องเล่ามหาวิทยาลัยสยองขวัญ