นารีผล
เป็นพืชชนิดหนึ่งมีอยู่ในป่าหิมพานต์ ออกดอกผลซึ่งมีรูปร่างเหมือนสตรี ออกดอกช่อขนาดเท่ากับคน ผลมีรูปร่างสัดส่วนเหมือนสาวแรกรุ่นอายุ ๑๖ ปี ผิวมีมะปรางสุก ตาดำสีทอง ตาขาวสีฟ้า ผมสีทอง ตาโตเด่นชัด จมูกเหมือนพระจันทร์เสี้ยว โด่ง ๔๕ องศา ผมสีทอง ที่ขวัญมีขั้วเหมือนมังคุด คิ้วต่อ คอปล้อง มี ๓ ปล้อง ไม่มีไหปลาร้า นิ้วมือทั้ง 4 นิ้ว ชี้ กลาง นาง ก้อย ยาวเสมอกัน นิ้วโป้งยาวได้ครึ่งหนึ่งของนิ้วชี้ นิ้วมือและแขนไม่มีข้อปล้อง มีกลิ่นกายหอมที่สุด เต็มไปด้วยกามคุณทั้ง ๕ ร่างกายเบาเพราะไม่มีกระดูก ต้นมักกะลีผลสูงใหญ่ ใบเหมือนมะม่วงแต่ใหญ่เท่าใบกล้วย ดอกคล้ายกล้วยไม้ มีพวงละ๕ดอก นารีผลมีขั้วที่หัวคล้ายมังคุด
เมื่อต้นนารีผลออกช่อได้ ๓ วันก็จะมีประจำเดือน ๗ วันร่วงหลุดจากต้น เมื่อหลุดจากต้นแล้วยังอยู่ได้อีก ๔-๕ เดือน จึงจะเริ่มเหิ่ยวเหมือนดอกไม้ และจะหดลงย่อส่วนลงจนหายไปในที่สุด ดอกของมัคคะลีผลนี้ ก็มีหุบมีบานเหมือนดอกบัว๑๘.๐๐ น. ก็หุบ และ ๐๖.๐๐ น. เมื่อประมาณสามหมื่นปีก่อน พระเวสสันดร พร้อมด้วยพระนางมัทรี และบุตร ๒ คนคือ ชาลีกุมาร และ กัณหาชิณากุมารี ถูกเนรเทศจากนคร ได้เดินทางสู่ป่าหิมพานต์ ปฏิบัติธรรมอยู่ที่นั้น ท้าวสักกะเทวราช ได้เล็งเห็นอันตรายในป่านั้นจึงได้เนรมิตบรรณศาลาสำห รับพระเวสสันดร พระนางมัทรี และกุมารทั้ง ๒ ขณะบำเพ็ญอยู่นางมัทรีต้องออกหาผลไม้ในป่านั้น ซึ่งมีดาบส ฤๅษี นักสิทธิ์ วิทยาธร คนธรรพ์ ทั้งหลายอาศัยอยู่ซึ่งยังมีกิเลส เกงว่าจะมาล่วงศีลพระนางมัทรี ท้าวสักกะเทวราช จึงได้เนรมิตต้นมัคคะลีผล เป็นมัคคะบัญชา หรือเป็นต้นไม้แห่งคำสาปของพระอินทร์ จำนวน ๑๖ ต้น ไว้รอบทิศ ณ ที่ไกลก่อนถึงบรรณศาลา
ว่ากันว่าจริง ๆ แล้ว ผลหนึ่งผล ก็คือรุกขเทพธิดาหนึ่งนาง หรือเมื่อต้นนารีผลออกดอก เสมือนเกิดวิมานแห่งรุกขเทพธิดาขึ้นที่นั่น เมื่อติดลูก ก็คือเทพธิดาจุติลงมาเกิดที่นั่น ความสวยงามสมบูรณ์แห่งผลนารีผล แต่ละผล จึงสวยงามต่างกัน ขึ้นอยู่กับบุญของเทพธิดาแต่ละนางด้วย… เทพธิดาแต่ละนางที่มาเกิดนั้น หาได้ถูกบังคับมาไม่ แต่เป็นผลกรรมที่ต้องมาเกิด
เมื่อเหล่านักสิทธิ์ วิทยาธร เดินทางมาพบเข้า หากจิตใจไม่เข้มแข็งพอ ตบะแตก ก็จักได้เสพบำเรอกับนารีผล เมื่อตบะแตก ฤทธิ์เสื่อม เหาะไปต่อไม่ได้ เมื่อไปต่อไม่ได้ ก็ไม่มีทางจะได้พบกับพระนางมัทรี การจะเดินทางต่อ หรือออกไป จำต้องบำเพ็ญเพียรใหม่ ยกระดับจิตขึ้นแล้ว จึงกลับออกมาได้
แม้ว่าพระเวสสันดร พระนางมัทรี จะเสด็จออกจากป่าเข้าเมืองไปแล้ว ต้นนารีผล ก็ยังคงมีอยู่ในที่นั้น ตราบเท่าทุกวันนี้ ยังมีดอกหอมกรุ่น มีนารีผลห้อยระย้าอยู่ดังเดิม แม้ลูกที่หมดอายุขัยจะร่วงหล่นเหี่ยวเฉาไป ลูกใหม่ก็ขึ้นมาแทนที่ไม่ได้ขาด บรรณศาลาก็เช่นเดียวกัน ปัจจุบันนี้ยังคงมีอยู่ และจะหายไปพร้อมกับต้นนารีผลเมื่อสิ้นสมัยพุทธกาล อายุของพุทธศาสนาครบ ๕,๐๐๐ปี
ว่ากันว่าบางครั้ง ฤๅษีที่บำเพ็ญเพียรจนตบะกล้า กิเลสสงบ เพื่อจะทดสอบจิตตนก็จะเหาะไปที่ต้นนารีผล มองดูนารีผล ว่าตนจะตบะแตกหรือไม่… หรือบางครั้งฤๅษีผู้เป็นอาจารย์ อาจจะพาลูกศิษย์ไปทดสอบระดับจิต ไปฝึกควบคุมจิตที่นั่นก็มี และว่ากันว่า พวกนักสิทธิ์วิทยาธร มักจะเหาะไปเก็บนารีผล อุ้มมาเชยชมแล้ว ฝึกจิตใหม่ ค่อยเหาะกลับออกมา นารีผล เป็นที่ต้องการของสัตว์วิเศษ (คนธรรพ์เป็นต้น) รวมถึงวิทยาธรทั้งหลายผู้ยังไม่หมดกามราคะ ดังนั้น การที่นารีผลจะเหี่ยวแห้งคาต้นแล้วร่วงหล่นนั้น เป็นไปได้ยาก ก่อนจะโรยรา จะมีเทวดา สัตว์วิเศษ และวิทยาธร เป็นต้นมาเก็บเอาไป หลายคนคงสงสัยว่าทำไมบรรณศาลาถึงมีอายุ ประมาณ ๓๐.๐๐๐ ปี เนื่องจากถูกเนรมิตสมัยพระเวสสันดร และหลังจากสวรรคต แล้วก็เสวยสุขบนสวรรค์อีก ๒ เดือน จึงจุติมาเกิดเป็นพระพุทธเจ้า เวลาในสวรรค์ ๑ วันทิพย์ เท่ากับ ๔๐๐ ปีโลกมนุษย์
ความในวรรณคดี
ในวรรณคดีระบุว่า มักกะลีผลเมื่อสุกแล้ว จะกลายเป็นหญิงสาวงามอายุราว ๑๖ แต่ที่ศีรษะจะยังมีขั้วติดอยู่ นิ้วมือทั้ง ๕ ยาวเท่ากัน ผมยาวสีทอง ตากลมโต คอเป็นปล้อง ไม่มีโครงกระดูก แต่ส่งเสียงได้เหมือนมนุษย์จริง ๆ มักกะลีผลที่ยังอ่อนมีลักษณะเหมือนคนนั่งคู้เข่าอยู่ เมื่อโตขึ้นขาจะเหยียดออกก่อน เมื่อโตเต็มที่จึงเหยียดตัวเหมือนคนยืนตัวตรง บรรดาฤๅษี กินนร วิทยาธร คนธรรพ์ ที่ยังมีตัณหาอยู่ จะมาออที่โคนต้น เพื่อรอสุกก็จะแย่งชิงกันเด็ดไปเป็นภรรยา ต้องยื้อแย่งกัน ทำร้ายกันถึงตาย ผู้ที่เหาะได้ก็เหาะขึ้นไปเก็บ ผู้ที่เหาะไม่ได้ก็ใช้ไม้สอยหรือปีนขึ้นไปเก็บ เมื่อมาแล้วก็จะนำไปที่อยู่ของตน ทะนุถนอมระแวดระวังอย่างดีมิให้ใครแย่งเอาไป แต่มักกะลีผลมีชีวิตอยู่ได้เพียง ๗ วัน ก็จะเน่าเปื่อยไป ซึ่งในวรรณคดีไทยที่มีการกล่าวถึง มักกะลีผล ได้แก่ พระเวสสันดรชาดก, มหาชาติคำหลวง และไตรภูมิพระร่วง
ติดตามเรื่องราวตำนาน สิ่งลี้ลับ เรื่องเล่าชวนหลอน : รีวิวเรื่องตำนานสิ่งลี้ลับเรื่องผี
สามารถติดตามเรื่องราวในตำนาน สิ่งลี้ลับ เรื่องเล่าชวนหลอนได้เพิ่มเติมที่แฟนเพจของเรา : Storyreview