STORYREVIEW
ตำนาน เรื่องหลอน เรื่องลี้ลับ 2023

ตำนานโมอาย

ตำนานโมอาย

จุดเริ่มต้นของตำนานโมอาย

  โมอายนี้เป้นรูปปั้นอยู่บนเกาะอีสเตอร์นี่แหละ ซึ่งเป็นเกาะโดดเดี่ยวกลางมหาสมุทรแปซิฟิก มีพื้นที่ประมาณ 160 ตารางกิโลเมตร ซึ่งชื่อของเกาะอีสเตอร์นี้มาจากการที่นักสำรวจคนแรกที่ค้นพบเกาะนี้เขาเดินทางมาในวันอีสเตอร์ในปี คริสศักราช 1722 ทำให้เขาได้ตั้งชื่อเกาะแห่งนี้ว่า เกาะอีสเตอร์ นั่นเอง

  มีตำนานเล่าขานกันว่า โมอายบนเกาะนี้เนี่ยเกิดจากการที่ชนพื้นเมืองที่อาศัยอยู่บนเกาะนั้นได้สร้างรูปปั้นหินขึ้นมา ซึ่งก็คือโมอายนี่เอง และเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่บนเกาะแห่งนี้จนหมดสิ้น  ทำให้ผู้คนอดอยาก จนแทบจะเกิดการสูญสิ้นเผาพันธุ์ของคนบนเกาะเลยทีเดียว

ซึ่งจากตำนานเนี่ยเขายังบอกอีกด้วยว่ารูปปั้นนี้ถูกสร้างขึ้นเมื่อ 1,000 กว่าปีก่อน เพื่อใช้เป็นตัวแทนของบรรพุบุรษที่ล่วงลับไป ทำให้บนเกาะอีสเตอร์นี้มีรูปปั้นโมอายมากกว่า 900 ตัว ทั้งเล็ก ทั้งใหญ่ หนัก 82 ตันก็มี และตัวที่ยังสร้างไม่เสร็จนี่มีขนาดตัวถึง 21 เมตร หนัก 270 ตันกันเลยทีเดียว

  เป็นคำถามที่คาใจคนสมัยก่อนยาวจนถึงสมัยนี้เลยล่ะ เพราะดูจากวิทยาการในยุคนั้นแล้วแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่มนุษย์เราจะเคลื่อนย้ายหินหนักขนาดนี้ได้ ซึ่งทำให้จากการวิเคราะห์ของคนสมัยใหม่ได้บอกเอาไว้ว่า ชาวบ้านในตอนนั้นใช้ท่อนไม้จำนวนมากสำหรับรับเป็นลูกกลิ้งในการขนย้ายโมอาย และนี่เป็นหนึ่งในสาเหตุความเชื่อที่ว่าชนเผ่านี้ใช้ทรัพยากรแบบสิ้นเปลืองจนหมดเกาะ

  เพราะการขนย้ายทำให้ต้องตัดต้นไม้จำนวนมากจนแทบหมดเกาะ ซึ่งส่วนหนึ่งของต้นไม้เหล่านั้นต้องใช้สร้างเรือออกไปหาปลา หาอาหารในทะเล เมื่อต้นไม้ไม่มีให้สร้างเรือ ทำให้พวกเขาจับปลาไม่ได้ และต้องอาศัยการหาอาหารบนบกแทน พอนานเข้าดินก็เสื่อมสภาพลง ปลูกพืชไม่ขึ้น และนำไปสู่หายนะที่ทำให้คนทั้งเกาะเกือบสูญพันธุ์

โมอายได้รับจดทะเบียนเป็นมรดกโลก

  ในปี 2533 ที่ผ่านมานี้โมอายแห่งเกาะอีสเตอร์ก็ได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกโลกด้วยเหตุผลหลายข้อด้วยกันเลยล่ะค่ะ ทั้งเป็นตัวแทนผลงานที่ถูกสร้างขึ้นจากความคิดสร้างสรรค์อันชาญฉลาดของบรรพบุรุษ ทั้งเป็นหลักฐานทางวัฒนธรรม และอารยธรรมที่ทำให้คนทั้งโลกได้สัมผัสมาตั้งแต่อดีตจนถึงทุกวันนี้

  รวมทั้งโมอายเองยังเป็นตัวอย่างอันโดดเด่นมากๆ ของวัฒนธรรมมนุษย์เรา บ่งบอกถึงวิธีการก่อสร้าง และการลงหลักปักฐานของมนุษย์ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงที่ยังไม่มีนวัตกรรมแต่ก็ยังสร้างสรรค์สิ่งสวยงามแบบนี้ขึ้นมาเป็นตัวอย่างที่ดีที่จะนำไปพัฒนาอนาคตได้ต่อไป 

  มาถึงขนาดนี้แล้วเชื่อว่าหลายๆ คนก็คงอยากไปลองชมโมอายตัวเป็นๆ กันแล้วใช่มั้ยล่ะ ลองหาโอกาสดีสักครั้งในชีวิตไปเยี่ยมชมเกาะอีสเตอร์แห่งนี้ดูได้เลยรับรองว่าจะไม่ทำให้คุณผิดหวัง และจะเป็นหนึ่งในทริปที่สนุกสนานมากที่สุดในชีวิตของเพื่อนๆ อย่างแน่นอน

เกาะอีสเตอร์ (Easter Island) มีชื่อเรียกอีก 2 ชื่อคือ เกาะราปานูอี (Rapa Nui: Rapa Nui) หรือ เกาะปัสกัว (สเปน: Isla de Pascua) ที่ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก อยู่ในการปกครองของประเทศชิลี ตัวเกาะห่างจากฝั่งประเทศชิลีไปทางทิศตะวันตก จัดว่าเกาะแห่งนี้เป็นเกาะที่โดดเดี่ยวที่สุด

ประวัติศาสตร์ของเกาะอีสเตอร์

ปีคริสศักราช 1680 เป็นช่วงที่ชาวเผ่าสองเผ่าที่อยู่บนเกาะ ซึ่งมีชนเผ่าหูสั้น (คาดว่าเป็นพวกที่มาจากเกาะแถบโปลีนีเซีย) กับเผ่าหูยาว (คาดว่ามาจากอเมริกาใต้) ซึ่งอยู่อย่างสงบมาช้านานได้ทะเลาะกันและทำสงครามกัน ทำให้ป่าเริ่มหมด สภาพดินเริ่มเสื่อมลง เผ่าหูสั้นซึ่งมีประชากรน้อยกว่ากลับชนะเผ่าหูยาว และช่วงที่ทำการรบอยู่นั้น พวกชาวเผ่าหูสั้นก็ได้ทำลายรูปปั้นหินและโคนรูปเกาะสลักเป็นจำนวนมาก หลังจากนั้นได้มีสงครามและความอดอยากเกิดขึ้นบ่อยครั้ง

  ในปี ค.ศ. 1722 นักเดินเรือชาวดัตช์นำโดย ยาโกบ โรคเคเฟน (Jacob Roggeveen) เป็นชาวยุโรปกลุ่มแรกที่เข้ามาถึงได้เดินทางมาพบเกาะนี้ในวันอาทิตย์อีสเตอร์[3] และได้ค้นพบว่าบนเกาะมีชนเผ่าอาศัยอยู่สองเผ่า และได้ตั้งชื่อเกาะให้ตรงกับวันที่ได้พบคือวันอีสเตอร์ ในปีคริสศักราช 1770 นักเดินเรือชาวสเปนคนหนึ่งที่ได้เดินทางมาจากประเทศเปรูได้ค้นพบเกาะแห่งนี้อีกครั้ง ซึ่งในขณะนั้นบนเกาะมีซึ่งมีชาวพื้นเมืองอาศัยอยู่แล้วโดยมีประชากรราว 3,000 คน แต่สี่ปีให้หลังจากนั้น กับต้นเจมส์ คุกที่เดินทางสำรวจแถบแปซิฟิกครั้งที่สอง ก็ได้พบเกาะอีสเตอร์ ซึ่งขณะนั้นประชากรบนเกาะเหลืออยู่เพียง 600-700 คน และมีผู้หญิงอยู่เพียง 30 คนเท่านั้น (มีการเล่าต่อกันมาว่าอาจเกิดจากการที่ผู้หญิงและเด็กถูกจับกิน จึงทำให้เด็กกับผู้หญิงลดน้อยลง) ตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 จำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย

  ในปี ค.ศ. 1862 รัฐบาลเปรูได้กวาดต้อนชาวพื้นเมืองชายประมาณ 1,000 คนไปเป็นทาสบนแผ่นดินใหญ่ แต่ไม่กี่เดือนให้หลัง หลังจากทาส 15 คนที่ได้รับการปล่อยตัวเพื่อกลับมาที่เกาะ ก็ได้นำเชื้อไข้ทรพิษกลับเข้ามาด้วย ทำให้ชาวเกาะซึ่งไม่มีภูมิคุ้มกันได้ติดโรคร้ายไปด้วย ทำให้ประชากรลดลงไปมาก จากการที่ชาวพื้นเมืองไม่ได้บันทึกอะไรไว้เลย สิ่งที่ถ่ายทอดไปสู่คนรุ่นหลังคือเล่าจากปากต่อปาก ต้นตอของสิ่งต่าง ๆ จึงได้ตายหายไปพร้อมกับชาวพื้นเมืองที่ลดจำนวนลงไปด้วย แม้จะมีข้อความสัญลักษณ์ แต่ก็ไม่สามารถถอดความได้ และยังหาคำอธิบายไม่ได้ว่าชาวเกาะอีสเตอร์ได้อพยพมาจากที่ใด

  และในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ประเทศชิลีก็ได้ผนวกกับเกาะอีสเตอร์เข้าเป็นส่วนหนึ่งของประเทศในปีคริสศักราช 1888 หลังจากนั้นประชากรบนเกาะก็เริ่มเพิ่มขึ้นอีกครั้ง

ติดตามเรื่องราวตำนาน สิ่งลี้ลับ เรื่องเล่าชวนหลอน : รีวิวเรื่องตำนานสิ่งลี้ลับเรื่องผี

สามารถติดตามเรื่องราวในตำนาน สิ่งลี้ลับ เรื่องเล่าชวนหลอนได้เพิ่มเติมที่แฟนเพจของเรา : Storyreview