STORYREVIEW
STORYREVIEW
ตำนาน เรื่องหลอน เรื่องลี้ลับ 2023

ตำนานนรสิงห์

ตำนานนรสิงห์

นรสิงห์ หรือ นรสีห์ ในภาษาสันสกฤต: नरसिंह, หรือแปลตรงๆตัวว่า ’มนุษย์-สิงโต’, Narasiṃha เป็นอวตารของพระวิษณุ โดยมีร่างกายท่อนล่างเป็นมนุษย์ และ ร่างกายท่อนบนเป็นสิงโต ได้มีคำสั่งจากพระวิษณุให้ลงมาทำลายความชั่วร้าย และ ยุติการกดขี่ข่มเหงทางศาสนา และ ความหายนะบนโลก ฟื้นฟูธรรมชาติ นอกจากนี้ นรสิงห์ยังด้รับการกล่าวถึงเป็นเทพแห่งโยคะ ในรูปแบบโยคะนรสิงห์

  นรสิงห์เป็นหนึ่งในเทพหลักในลัทธิไวษณพ และตำนานของเขาได้รับการยกย่องในVaikhanasas, Sri Vaishnavism, Sadh Vaishnavism และในธรรมเนียมอื่น ๆ ของลัทธิไวษณพ

  หิรัณยกศิปุบำเพ็ญตบะเป็นเวลานาน จนได้รับพรจากพระพรหม ให้เป็นผู้ที่ฆ่าไม่ตายจากมนุษย์, สัตว์,และ เทวดา ให้ฆ่าไม่ตายทั้งในเวลากลางวัน และ ในเวลากลางคืน ให้ฆ่าไม่ตายทั้งจากอาวุธและมือ ให้ฆ่าไม่ตายทั้งในเรือน และ นอกเรือน ไม่ว่าจะทำอย่างไร นรสิงห์ก็จะไม่มีวันตาย

  หิรัณยกศิปุ ได้อาละวาดสร้างความเดือดร้อนไปทั่วทั้งสามภพ พระอินทร์จึงทูลเชิญพระนารายณ์อวตารเกิดมาเป็น นรสิงห์ คือ มนุษย์ครึ่งสิงห์ นรสิงห์สังหารหิรัณยกศิปุด้วยกรงเล็บด้วยการฉีกอก ที่กึ่งกลางบานประตู ในเวลาโพล้เพล้ ก่อนตาย นรสิงห์ได้ถามหิรัณยกศิปุว่า สิ่งที่ฆ่าเจ้าเป็นมนุษย์หรือสัตว์หรือเทวดาหรือไม่ คำตอบก็คือ ไม่ สิ่งที่สังหารเป็นมือหรืออาวุธหรือไม่ คำตอบก็คือ ไม่ ในเรือนหรือนอกเรือนหรือไม่ คำตอบก็คือ ไม่ และเป็นเวลากลางวันหรือกลางคืนหรือไม่ คำตอบก็คือ ไม่ นรสิงห์จึงประกาศว่า บัดนี้ พรที่ประทานจากพระพรหมได้สลายไปสิ้นแล้ว เทวดาทั้งสามภพจึงยินดี

ทางฝั่งเพื่อนบ้านของเราก็มี นรสิงห์ เช่นเดียวกัน แต่ชื่อที่เรียกกันคนละแบบ

  “นรสิงห์” หรือที่พม่าเรียกว่า “มนุษย์สิงห์” นั้น มักทำเป็นรูปปั้นประดับตามฐานพระเจดีย์ทั้ง 4 ด้าน ในดินแดนประเทศเมียนมานิยมปั้น “มนุษย์สิงห์” มาก สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ครั้นเสด็จประพาสเมียนมา เมื่อ พ.ศ. 2478 ทรงกล่าวถึง “นรสิงห์” ไว้ในพระนิพนธ์ “เที่ยวเมืองพม่า” (มติชน, 2545) ดังนี้

  “พม่าเรียกว่า ‘มนุษย์สิงห์’ คือหัวเป็นมนุษย์ใส่ชฎาตัวเป็นสิงห์ ดูประหลาด ลองสืบหาต้นเค้าก็ได้แต่นิทาน ว่าเค้ามูลของรูปสิงห์ซึ่งตั้งปากทางขึ้นบันไดนั้น เดิมราชสีห์ตัวหนึ่งลักราชธิดาของพระยามหากษัตริย์อันมีลูกยังเป็นทารกติดไปด้วย 2 คน เอาไปเลี้ยงไว้ (เป็นเค้าเดียวกับเรื่องสิหพาหุในหนังสือมหาวงศ์พงศาวดารลังกา)

  ครั้นลูกชายเติบใหญ่พาแม่กับน้องหญิงหนีกลับมาอยู่ในเมืองมนุษย์ ฝ่ายราชสีห์เที่ยวติดตาม พบผู้คนกีดขวางกัดตายเสียเป็นอันมาก จนร้อนถึงพระยามหากษัตริย์สั่งให้ประกาศหาคนปราบราชสีห์ กุมารนั้นเข้ารับอาสาออกไปรบราชสีห์ ยิงศรไปทีไรก็เผอิญผิดพลาดไม่สามารถฆ่าราชสีห์ ฝ่ายราชสีห์ก็ยังสงสารกุมารไม่แผดเสียงให้หูดับ ต่อสู้กันอยู่จนราชสีห์เกิดโทสะอ้าปากจะแผดเสียง กุมารก็เอาศรยิงกรอกทางช่องปากฆ่าราชสีห์ตาย ได้บำเหน็จมียศศักดิ์จนได้ครองเมืองเมื่อภายหลัง

  แต่เมื่อครองเมืองเกิดอาการให้ปวดหัวเป็นกำลัง แก้ไขอย่างไรก็ไม่หายจึงปรึกษาปุโรหิต ๆ ทูลว่าเป็นเพราะบาปกรรมที่ได้ฆ่าราชสีห์ผู้มีคุณมาแต่หนหลัง ต้องทำรูปราชสีห์บูชาล้างบาปจึงจะหายโรค พระยามหากษัตริย์นั้นจะทำรูปสัตว์เดรัจฉานขึ้นบูชาก็นึกละอาย จึงให้สร้างรูปราชสีห์ขึ้น ฝากไว้กับเจดียสถานที่บูชา เลยเป็นประเพณีสืบมา

  เจดีย์แบบพม่า วัดศรีรองเมือง จังหวัดลำปาง สังเกตบริเวณมุมจะประดับรูปมนุษย์สิงห์ทั้งสี่ด้าน

  นิทานเรื่องสิงห์ที่สร้างล้อมพระเจดีย์นั้นก็ทำนองเดียวกัน เปลี่ยนเป็นนางราชสีห์ได้นางราชธิดาไปเลี้ยงไว้แต่เล็กรักใคร่เหมือนเป็นลูก เมื่อนางราชธิดาเติบใหญ่ขึ้นหนีมา นางราชสีห์ตามมาทันที่ริมแม่น้ำ เมื่อนางราชธิดาข้ามพ้นไปได้แล้ว นางราชสีห์ก็โทมนัสขาดใจตายอยู่ที่ริมแม่น้ำ นางราชธิดานั้นได้เป็นใหญ่เมื่อภายหลัง คิดถึงคุณของนางราชสีห์ที่ได้เลี้ยงดูและที่สุดตายด้วยความรักใคร่ จึงให้สร้างรูปขึ้นไว้กับเจดียสถานที่บูชา

  เรื่องนิทานของมนุษย์สิงห์นั้น ว่าเมื่อพระโสณะกับพระอุตตรมหาเถรซึ่งพระเจ้าอโศกมหาราชให้มาสอนพระพุทธศาสนา มาถึงเมืองสะเทิมในรามัญประเทศ สบเวลามีนางยักขินีเที่ยวกินเด็กที่เกิดใหม่ พระราชามหากษัตริย์และราษฎรได้ความเดือดร้อนอยู่ พระมหาเถรทั้งสององค์จำแลงเป็น ‘มนุษย์สิงห์’ อย่างนี้ให้นางยักขินีกลัวเลยหลบหนีสาบสูญไป บ้านเมืองก็ได้ความสุขพ้นภัยอันตราย พระราชามหากษัตริย์จึงให้ทำรูปมนุษย์สิงห์ขึ้นไว้สำหรับป้องกันภยันตรายแก่มหาช”